Hype Member Guide

คู่มือสมาชิก

บริษัท เวิลด์ แคชเชอร์ จำกัด

สารบัญ

บทที่ 1 : บทนำ

บทที่ 2 : การสมัครเป็นนักธุรกิจไฮป์

2.1. ข้อกำหนดสำหรับการสมัครเป็นนักธุรกิจไฮป์

2.2. ความรับผิดชอบของนักธุรกิจไฮป์

2.3. ผู้สืบทอดธุรกิจและผู้รับมอบหมาย

บทที่ 3 : กฎระเบียบจรรยาบรรณ

3.1. พึงยึดมั่นในกฎระเบียบตลอดเวลา

3.2. ห้ามให้การสปอนเซอร์แก่ผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

3.3. ห้ามพูดเกินความจริงถึงรายได้ที่ได้รับจากธุรกิจไฮป์

3.4. ห้ามขายสินค้าตัดราคา และ/หรือขายสินค้าต่ำกว่าราคาที่บริษัทฯกำหนด

3.5. ห้ามพูดเกินความจริงถึงประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์

3.6. อย่าทอดทิ้งสมาชิกและลูกค้าไว้เบื้องหลัง

3.7. ห้ามให้การสปอนเซอร์จนกว่าคุณพร้อมที่จะรับผิดชอบ

3.8. ห้ามเปลี่ยนหรือพยายามชักชวนผู้อื่นให้เปลี่ยนสายการสปอนเซอร์

3.9. ห้ามเปลี่ยนสายการสปอนเซอร์ในองค์กรของตนเอง

3.10. ห้ามเปลี่ยนผู้แนะนำเหนือองค์กรของตนเอง

3.11. ห้ามอาศัยเครือข่ายของนักธุรกิจไฮป์ เป็นแหล่งขายผลิตภัณฑ์อื่นที่มิใช่ของไฮป์

3.12. ห้ามสั่งซื้อหรือจัดมอบผลิตภัณฑ์ไฮป์ ให้กับนักธุรกิจไฮป์ หรือสมาชิกในสายการสปอนเซอร์อื่น

3.13. อย่าขายผลิตภัณฑ์ไฮป์ แบบเคาะประตูบ้าน

3.14. ห้ามขายหรือตั้งแสดงผลิตภัณฑ์ไฮป์ ในร้านค้าปลีก

3.15. อย่าสร้างความกดดันในการขาย

3.16. อย่ากักตุนหรือบังคับให้ผู้อื่นกักตุนผลิตภัณฑ์

3.17. ห้ามละเมิดสิทธิเรื่องเครื่องหมายการค้าของไฮป์

บทที่ 4 : การสั่งซื้อผลิตภัณฑ์

4.1. ข้อกำหนดสำหรับการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์

4.2. การสั่งซื้อผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ต / ออนไลน์

4.3. การสั่งซื้อผ่านทางหน้าเคาน์เตอร์บริษัทฯ

4.4. การรับสินค้า

4.5. การสต๊อกสินค้า / สินค้าคงคลัง

4.6. ขั้นตอนการจัดส่งสินค้า

บทที่ 5 : นโยบายการขายปลีก

5.1. ร้านค้าขายปลีก

5.2. ประเภทธุรกิจการบริการ

5.3. ศูนย์จำหน่าย

5.4. วิธีการขายที่ไม่ได้รับการอนุมัติ

บทที่ 6 : นโยบายการแลกเปลี่ยนและการคืนผลิตภัณฑ์

6.1. การรับประกันผลิตภัณฑ์

6.2. การจ่ายคืนโบนัส / การหักคืนยอดการจำหน่าย

6.3. นโยบายการรับคืนสินค้า

6.4. การหักคืนยอดการจำหน่าย

บทที่ 7 : การโฆษณา และสื่อส่งเสริมธุรกิจ

7.1. ข้อแนะนำโดยรวม

7.2. สื่อส่งเสริมธุรกิจ

7.3. การอวดอ้างเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์

7.4. การพูดแสดงความคิดเห็นในที่สาธารณะ

7.5. นามบัตรและเครื่องเขียน

7.6. สมุดโทรศัพท์

7.7. การตอบคำถามกับสื่อมวลชน

7.8. การชดเชยค่าเสียหาย

บทที่ 8 : บริการ

8.1. เอกสารสิ่งพิมพ์

8.2. การปฏิบัติงานของบริษัท/ พนักงาน

บทที่ 9 : ข้อมูลการจ่ายโบนัส การเปลี่ยนข้อมูลนักธุรกิจไฮป์

9.1. นโยบายและคู่มือการจ่ายผลตอบแทนในการเป็นสมาชิกไฮป์ โดย บริษัท เวิลด์ แคชเชอร์ จำกัด

9.2. การจ่ายโบนัส

9.3. การเสียภาษีจากการทำธุรกิจไฮป์

บทที่ 1 บทนำ

ยินดีต้อนรับสู่...ครอบครัว “ไฮป์”

ขอแสดงความยินดีกับความสำเร็จก้าวแรกของคุณ! นี่คือการตัดสินใจครั้งยิ่งใหญ่อันจะเปลี่ยนวิถีชีวิต สุขภาพ และรายได้ ของคุณให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็นอิสรภาพทางธุรกิจที่คุณพบได้จริง ที่ “ไฮป์”

อิสรภาพทางการเงินในธุรกิจส่วนตัวมีจริง! ทิ้งข้อจำกัดเดิมๆ ในชีวิต ทั้งภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ ของมนุษย์เงินเดือน เพราะทุกอย่างกำลังจะเปลี่ยนไปเมื่อคุณก้าวเข้ามาสู่ ไฮป์ ! โอกาสทางธุรกิจสำหรับคนรุ่นใหม่เช่นคุณและผู้คนมากมายทั่วโลก เป็นที่ที่ผู้คนทุกระดับฐานะและการศึกษาได้มาพบกัน เรียนรู้ร่วมกัน แบ่งปันกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และประสบความสำเร็จที่ไร้ขีดจำกัดทางด้านรายได้ ด้วยผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและมีเอกลักษณ์ ควบคู่กับแผนรายได้ที่ผ่านการศึกษาค้นคว้าจนเข้าใจพื้นฐานความแตกต่างและข้อจำกัดของตลาด ในแต่ละประเทศอย่างแท้จริงจึงมีลักษณะเฉพาะสำหรับการทำธุรกิจในประเทศนั้นๆ

ความสำเร็จล้ำค่าที่เติบโตขึ้นมาพร้อมความผูกพันอย่างลึกซึ้งในครอบครัวใหญ่ อิสรภาพและมิตรภาพในธุรกิจที่มั่นคงที่คุณจะได้สัมผัสต่อไปเช่นเดียวกับสมาชิกทุกคนในครอบครัวของเรา เป็นตัวของตัวเอง ทำสิ่งที่อยากทำเป็นส่วนหนึ่งของไฮป์...เพราะ เราคือครอบครัวไฮป์

ขอต้อนรับสู่ครอบครัว “ไฮป์”

นโยบายและวิธีปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจที่นักธุรกิจไฮป์ (ไม่ว่าจะเป็นนิติบุคคลธรรมดา บริษัทจำกัด หรือห้างหุ้น ส่วนจำกัด) ดำเนินธุรกิจกับบริษัท เวิลด์ แคชเชอร์ จำกัด หรือ กับนักธุรกิจไฮป์ ท่านอื่นๆ พร้อมทั้งข้อกำหนดการ เป็นนักธุรกิจไฮป์ แผนการตลาด และแบบฟอร์มอื่นๆ ที่ บริษัท เวิลด์ แคชเชอร์ จำกัด จัดทำ (รวมถึงแบบฟอร์มการสั่งซื้อ และแบบฟอร์มการคืนสินค้า) เมื่อนักธุรกิจไฮป์ นำมายื่นและบริษัท เวิลด์ แคชเชอร์ จำกัด ได้รับไว้ ให้ถือเป็นข้อกำหนดทั้งหมดระหว่างนักธุรกิจไฮป์ และบริษัท เวิลด์ แคชเชอร์ จำกัด เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับธุรกิจของนักธุรกิจไฮป์ ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ และข้อแนะนำที่กำหนดในเอกสารฉบับนี้ ถ้านักธุรกิจไฮป์ ไม่สามารถปฏิบัติตามนโยบายและวิธีปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจของไฮป์ นักธุรกิจไฮป์ จะไม่ได้รับโบนัสจากบริษัท เวิลด์ แคชเชอร์ จำกัด และต้องลาออกจากการเป็นนักธุรกิจไฮป์ หรือได้รับบทลงโทษอื่นๆ ที่ทางบริษัทฯ จะดำเนินการตามข้อกำหนดในนโยบาย และวิธีปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจฉบับนี้

บริษัท เวิลด์ แคชเชอร์ จำกัด ขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนโยบาย และวิธีปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจฉบับนี้ด้วยเหตุผลใดๆ โดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า บริษัท เวิลด์ แคชเชอร์ จำกัด ให้ถือเป็นความรับผิดชอบของนักธุรกิจไฮป์ แต่ละท่านที่จะปรับแก้ไขข้อมูลล่าสุด ในนโยบายและวิธีปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจให้ตรงกับฉบับล่าสุดและดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับนโยบายและวิธีปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจฉบับปัจจุบัน นโยบายและวิธีปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจฉบับล่าสุดจะแทนที่ฉบับก่อนทั้งหมดที่เคยมีผลบังคับใช้ เมื่อนักธุรกิจไฮป์ ได้ทำข้อกำหนดการเป็นนักธุรกิจไฮป์ กับทางบริษัทฯ นับจากนี้ บริษัท เวิลด์ แคชเชอร์ จำกัด จะใช้ชื่อว่า “ไฮป์” ในการอ้างอิงครั้งต่อๆ ไป

บทที่ 2 การสมัครเป็นนักธุรกิจไฮป์

2.1. ข้อกำหนดสำหรับการสมัครเป็นนักธุรกิจไฮป์

2.1.1. นักธุรกิจไฮป์ มีอายุครบหรือเกิน 18 ปีบริบูรณ์ และมีคุณสมบัติทางกฎหมายที่จะเข้าเป็นนักธุรกิจไฮป์ ได้

2.1.2. เมื่อบริษัท เวิลด์ แคชเชอร์ จำกัด อนุมัติข้อตกลงแฟรนไชส์ นักธุรกิจไฮป์ จะกลายเป็นคู่ข้อกำหนด อิสระและแฟรนไชส์ที่ได้รับอนุญาต (ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า “ผู้ร่วมธุรกิจ” หรือ “แฟรนไชส์”) ของ “ไฮป์“ ซึ่งจะได้รับสิทธิในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของ “ไฮป์” (“แผนการตลาด”) ข้อตกลง แฟรนไชส์จะถือว่าได้รับการอนุมัติจาก “ไฮป์” เมื่อได้รับการบันทึกข้อมูลของผู้สมัครไว้ในระบบ ข้อมูลของ “ไฮป์” ทั้งนี้การอนุมัติข้อตกลงแฟรนไชส์จะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของ “ไฮป์” แต่เพียงผู้เดียว อย่างไรก็ตาม “ไฮป์” ต้องได้รับข้อตกลงแฟรนไชส์ฉบับจริงภายในสิบ (10) วัน นับจากได้มีการลงทะเบียน เพื่อที่จะได้รับการพิจารณาอนุมัติอย่างเป็นทางการ

2.1.3. นักธุรกิจไฮป์ ได้อ่านแผนการตลาดตลอดจนนโยบาย และระเบียบปฏิบัติสำหรับแฟรนไชส์ “ไฮป์” (“นโยบายและระเบียบปฏิบัติ”) แล้ว นักธุรกิจไฮป์ ตกลงยึดถือตามข้อกำหนดและ เงื่อนไขทั้งหมด และนักธุรกิจไฮป์ ยอมรับว่าข้อกำหนด และ เงื่อนไขที่ระบุในแผนการตลาดพร้อมทั้ง นโยบายและระเบียบปฏิบัติรวมถึงการปรับปรุง เอกสารผนวก และการแก้ไขใดๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ถือว่าเป็น ส่วนหนึ่ง และรวมอยู่ในข้อตกลงนี้ ข้อตกลงนี้ถือเป็นข้อกำหนดรวม (ข้อกำหนด) ซึ่งรวมถึงแผนการตลาด พร้อมทั้ง นโยบายและระเบียบปฏิบัติ นอกจากนี้เอกสารที่กล่าวข้างต้นแล้วไม่ถือว่า เป็นข้อตกลงแฟรนไชส์ คำรับรองหรือ ข้อตกลงอื่นใดที่จะมีผลทางกฎหมาย ต้องทำเป็นหนังสือและลงนามโดยทั้ง “ไฮป์” และตัวนักธุรกิจไฮป์ เท่านั้น นักธุรกิจไฮป์ รับทราบว่าการละเมิดข้อกำหนด และเงื่อนไขในข้อ กำหนดฉบับนี้ หรือข้อตกลง หรือพันธะอื่นใดที่นักธุรกิจไฮป์ ได้ทำร่วมกับ “ไฮป์” อาจมีผลทำให้สถานภาพแฟรนไชส์ของนักธุรกิจไฮป์ สิ้นสุดลง หรืออาจได้รับโทษทางวินัยอื่นๆ ตามแต่ “ไฮป์” เห็นสมควร ในกรณีที่เกิดความไม่สอดคล้องระหว่างนโยบาย และระเบียบปฏิบัติหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใดของ “ไฮป์” ซึ่งรวมถึงแผนการตลาดและข้อกำหนดให้ยึดตามนโยบายและระเบียบปฏิบัติ

2.1.4. ข้อตกลงแฟรนไชส์จะมีผลตามกฎหมายเป็นเวลาหนึ่ง (1) ปี นับจากวันที่ใบสมัครได้รับการอนุมัติ และจะต้อง ได้รับการต่ออายุเป็นรายปี นักธุรกิจไฮป์ รับทราบว่า “ไฮป์” อาจเพิกถอนข้อตกลง แฟรนไชส์และสถานภาพแฟรนไชส์นี้ หากข้อตกลงแฟรนไชส์ไม่ได้รับการต่ออายุไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด สถานภาพแฟรนไชส์ที่เกิดขึ้นเป็นสิทธิที่ได้รับอนุญาตและสามารถเพิกถอนได้ และตำแหน่งหรือสถานภาพแฟรนไชส์ สร้างขึ้น ในองค์กรของแฟรนไชส์ “ไฮป์” และ/หรือฐานข้อมูลของ “ไฮป์” เป็นทรัพย์สินของ “ไฮป์”

2.1.5. หากนักธุรกิจไฮป์ มีความประสงค์ให้ข้อตกลงแฟรนไชส์สิ้นสุดลง นักธุรกิจไฮป์ จะส่งหนังสือแจ้งความประสงค์ที่จะยกเลิก สถานภาพ ถึง “ไฮป์” การสิ้นสุดสถานภาพแฟรนไชส์โดยสมัครใจของนักธุรกิจไฮป์ จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ “ไฮป์” ได้รับและอนุมัติหนังสือแจ้งดังกล่าว

2.1.6. ในฐานะแฟรนไชส์ นักธุรกิจไฮป์ หรืออาจเรียกว่าผู้ร่วมธุรกิจ นักธุรกิจไฮป์ มิใช่พนักงานแฟรนไชส์ แฟรนไชส์ ผู้ได้รับแฟรนไชส์ ผู้ร่วมทุน หรือแฟรนไชส์ตามกฎหมายของ “ไฮป์” นักธุรกิจไฮป์ ตกลงที่จะรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียวต่อการปฏิบัติตามกฎหมาย หรือ กฎเกณฑ์ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของนักธุรกิจไฮป์ ภายใต้ขอบเขตอำนาจศาลที่เกี่ยวข้อง นักธุรกิจไฮป์ จะเคารพกฎหมายและระเบียบ ปฏิบัติต่างๆ ที่ใช้ทำกับตัวนักธุรกิจไฮป์ และธุรกิจของข้าพเจ้า

2.1.7. แม้ว่า “ไฮป์” หรือบริษัทในเครืออาจให้การช่วยเหลือแก่นักธุรกิจไฮป์ ให้ได้รับทราบ ถึงกฎหมาย กฎเกณฑ์และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง แต่ความรับผิดชอบในการร่วมธุรกิจ “ไฮป์” ของนักธุรกิจไฮป์ โดยถูกต้องตามกฎหมายในขอบเขต อำนาจศาลที่เกี่ยวข้องจะตกเป็นของนักธุรกิจไฮป์ แต่เพียงผู้เดียว ดังนั้น “ไฮป์” และบริษัทในเครือรวมทั้งเจ้าหน้าที่ แฟรนไชส์ และ พนักงานของบริษัทจะไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ ในการกระทำหรือการละเลยที่จะกระทำของนักธุรกิจไฮป์ พร้อมกันนี้นักธุรกิจไฮป์ ขอสละสิทธิในการเรียกร้องฟ้องร้องใดๆต่อ“ไฮป์ ” และ บริษัทในเครือรวมทั้งเจ้าหน้าที่แฟรนไชส์ และพนักงานของบริษัท ซึ่งนักธุรกิจไฮป์ (หรือผู้อื่นซึ่งดำเนินการแทนนักธุรกิจไฮป์) อาจมีโอกาสทำได้เกี่ยวกับสถานะหรือการปฏิบัติตนในฐานะแฟรนไชส์ของ “ไฮป์” อันเกิดจากการกระทำหรือการละเลยที่จะกระทำใดๆ ของนักธุรกิจไฮป์ ทั้งนี้ นักธุรกิจไฮป์ ตกลงที่จะเป็นผู้ชดใช้ต่อความเสียหายใดๆ โดยที่ การฟ้องร้อง หรือหนี้สิน ที่เป็นผลจากการกระทำ การละเลยที่จะกระทำหรือการให้คำแนะนำทีมงาน หรือดำเนินธุรกิจกับ ”ไฮป์” ในทางที่ไม่ถูกต้องของนักธุรกิจไฮป์

2.1.8. เอกสารข้อตกลงแฟรนไชส์ฉบับนี้ อนุญาตให้นักธุรกิจไฮป์ รับสมัครผู้สนใจที่จะสมัครเข้าเป็นแฟรนไชส์ ในอนาคตของ “ไฮป์” ในประเทศไทย เท่านั้น

2.1.9. นักธุรกิจไฮป์ เข้าใจดีว่าแฟรนไชส์ที่มีคุณสมบัติที่ดีและถูกต้องตามที่ “ไฮป์” กำหนด เท่านั้นที่จะสามารถให้การให้คำแนะนำและบริหารแฟรนไชส์ใหม่ ทั้งนี้ “ไฮป์ ” ถือดุลยพินิจแต่ เพียงผู้เดียวในการอนุมัติหรือปฏิเสธใบสมัครนี้โดยไม่จำเป็นต้องเปิดเผยเหตุผลในกรณีที่ใบสมัครแฟรนไชส์นี้ ไม่ได้ รับการอนุมัติหรือถูกปฏิเสธ “ไฮป์” พร้อมทั้ง เจ้าหน้าที่แฟรนไชส์ ที่ปรึกษา และพนักงานไม่มีส่วน ในการรับผิดชอบในสิ่งที่นักธุรกิจไฮป์ หรือบุคคลอื่นใดที่เกี่ยวข้องกระทำขึ้น และนักธุรกิจไฮป์ ขอสละสิทธิ์ของการเป็นแฟรนไชส์ที่จะเรียกร้องผลประโยชน์ใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการกระทำของนักธุรกิจไฮป์ หรือบุคคลอื่นใด

2.1.10. นักธุรกิจไฮป์ เป็นผู้รับผิดชอบในการอบรม และสนับสนุนแฟรนไชส์ ที่นักธุรกิจไฮป์ ให้การให้คำแนะนำทีมงาน และ/หรือ รับสมัครเข้าสู่การเป็นแฟรนไชส์ใหม่ ภายใต้แผนการตลาดนักธุรกิจไฮป์ จะทำหน้าที่ดูแลสนับสนุน เผยแพร่ และ/หรือ จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ “ไฮป์” ให้กับลูกค้าโดยสุจริต นักธุรกิจไฮป์ ยังตกลงที่จะทำการอบรมแฟรนไชส์ใหม่ที่นักธุรกิจไฮป์ ให้การให้คำแนะนำและบริหาร หรือรับสมัครในการปฏิบัติหน้าที่ข้างต้นและนักธุรกิจไฮป์ จะติดต่อสื่อสารอย่างต่อเนื่องพร้อมทั้งดูแลแฟรนไชส์ “ไฮป์” ของนักธุรกิจไฮป์

2.1.11. นักธุรกิจไฮป์ เข้าใจและยอมรับว่าผลตอบแทนที่นักธุรกิจไฮป์ ได้รับจาก “ไฮป์” ถูกกำหนดโดยแผนการตลาดและประกอบด้วยราคาสั่งซื้อ และ พลอย หรือ “GEM ”จากการสั่งซื้อ และ/หรือผลตอบแทน ต่างๆ อันเกี่ยวข้องกับการจำหน่าย หรือผลประโยชน์อื่นใดที่ได้จากการจำหน่ายให้กับลูกค้า หรือการสั่งซื้อจาก ลูกค้าโดยตรงผ่านช่องทางต่างๆ นักธุรกิจไฮป์ ยินยอมให้ “ไฮป์” โอนพลอย หรือ “GEM” และ/หรือ ของรางวัลต่างๆ ที่ได้รับจากแผนการตลาดเข้าระบบแผนส่งเสริมการตลาดของนักธุรกิจไฮป์ ทุกสัปดาห์โดยนักธุรกิจไฮป์ ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามที่ “ไฮป์” กำหนด ในกรณีที่มีความผิดพลาดจากการให้/ได้รับพลอย หรือ “GEM” และ/หรือผลตอบแทน และ/หรือ รางวัลต่างๆ ของนักธุรกิจไฮป์ นักธุรกิจไฮป์ ยินยอมให้บริษัทฯ เรียกคืนพลอย หรือ “GEM” ในระบบ และ/หรือผลตอบแทน และ/หรือของรางวัลต่างๆ ของนักธุรกิจไฮป์ ได้

2.1.12. นักธุรกิจไฮป์ ตกลงที่จะไม่แก้ไข เปลี่ยนแปลงบรรจุภัณฑ์ เปลี่ยนฉลาก หรือเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ “ไฮป์” ในรูปแบบอื่นใด และนักธุรกิจไฮป์ จะไม่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ภายใต้ ชื่อหรือฉลากอื่นใดนอกเหนือจากที่ได้รับอนุญาตจาก “ไฮป์” นอกจากนี้ นักธุรกิจไฮป์ ยังตกลงที่จะงดเว้น จากการผลิต จำหน่าย หรือใช้แผนส่งเสริมการตลาด โครงการ งานเขียน สื่อบันทึก หรืออุปกรณ์ใดๆ เพื่อจุดประสงค์ในการโฆษณาส่งเสริมการขายหรือบรรยายถึงผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ โดยไม่ได้รับอนุญาตล่วงหน้าจาก “ไฮป์”

2.1.13. นักธุรกิจไฮป์ ตกลงและยอมรับว่า นักธุรกิจไฮป์ ไม่สามารถส่งมอบ มอบหมาย หรือโอน ถ่ายสิทธิใดๆ ที่ได้รับจากข้อกำหนดนี้ให้แก่ผู้อื่นโดยมิได้รับการยินยอมเป็นหนังสือจาก “ไฮป์” ทั้งนี้ “ไฮป์” อาจ มอบหรือโอนสิทธิจากข้อกำหนดนี้ให้แก่ผู้อื่น โดยไม่จำเป็นต้องได้รับการยินยอม จากนักธุรกิจไฮป์

2.1.14. นักธุรกิจไฮป์ตกลงที่จะไม่ใช้ชื่อทางการค้า เครื่องหมายการ ค้าหรือทรัพย์สินอื่นใดของ “ไฮป์” โดยมิได้รับการยินยอมเป็นหนังสือจาก “ไฮป์”

2.1..15. นักธุรกิจไฮป์ จะไม่กล่าวอ้างคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ “ไฮป์” เกินความเป็นจริงหรือ ทำการกล่าวอ้างใดๆ เกี่ยวกับแผนการตลาดที่ไม่เป็นจริงตามที่ปรากฏในสิ่งที่ตีพิมพ์อย่างเป็นทางการของ “ไฮป์” ซึ่งผลิตภัณฑ์และเผยแพร่โดย “ไฮป์ ”

2.1.16. “ไฮป์” และ บริษัทในเครือเป็นเจ้าของสิทธิ์ในระบบแฟรนไชส์และบัญชีรายชื่อแฟรนไชส์ แต่เพียง ผู้เดียว นักธุรกิจไฮป์ จะไม่ใช้บัญชีรายชื่อแฟรนไชส์ หรือผู้มาติดต่อทำธุรกิจกับ “ไฮป์” รวมทั้งผลิตภัณฑ์รายการสนับสนุนการขายหรือบริการอื่นใด ที่ไม่ได้มาจาก “ไฮป์” ในการสนับสนุนการเพิ่มยอดขายให้กับแฟรนไชส์อื่นใดที่นักธุรกิจไฮป์ ไม่ได้เป็นผู้บริหารโดยตรง นอกจากนี้ นักธุรกิจไฮป์ ยังตกลงว่าจะไม่ถือสิทธิที่ใช้หรือได้รับประโยชน์จากสถานภาพแฟรนไชส์มากกว่าหนึ่งสถานภาพ นอกจากที่อนุญาตไว้อย่างชัดเจนในแผนการให้คะแนน นักธุรกิจไฮป์ จะคืนบัญชีรายชื่อ แฟรนไชส์ในปัจจุบันทั้งหมด หาก “ไฮป์” ร้องขอหรือเมื่อสถานภาพแฟรนไชส์ของนักธุรกิจไฮป์ สิ้นสุดลง

2.1.17. ในกรณีที่นักธุรกิจไฮป์ เลือกที่จะสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ภายใต้ระบบของ “ไฮป์” ด้วยบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต ลายมือชื่อข้อกำหนดนี้จะถือเป็นการมอบอำนาจให้ชำระยอดการสั่งซื้อใดๆ ของนักธุรกิจไฮป์ จากบัญชีบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิตเหล่านั้น และถือเป็น “ลายมือชื่อในแฟ้ม” ของนักธุรกิจไฮป์

2.1.18. หากพบว่าข้อกำหนดใดในข้อกำหนดฉบับนี้ไม่สามารถบังคับใช้ได้หรือไม่มีผลตามกฎหมายข้อกำหนดนั้นจะไม่ส่งผลต่อข้อกำหนดอื่นๆ ที่มีผลตามกฎหมายแล้ว

2.1.19. ข้อกำหนดฉบับนี้บังคับใช้โดยขอบเขตอำนาจกฎหมายแห่งราชอาณาจักรไทย นักธุรกิจไฮป์ ตกลงว่า การพิจารณาข้อพิพาทหรือดำเนินการแสวงหาข้อตกลงใดๆ อันอาจเกิดขึ้น ทั้งที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับข้อกำหนดนี้ จะดำเนินการ ณ ศาลใน ประเทศไทย ในกรณีที่เกิดข้อพิพาท ฝ่ายที่ชนะคดีจะได้รับการชดเชยค่าธรรมเนียม แฟรนไชส์ทางกฎหมายและค่าใช้จ่ายการเดินทาง และที่พักตามสมควรจากฝ่ายที่แพ้คดี

2.1.20. นักธุรกิจไฮป์ ตกลงว่า ข้อเรียกร้องในรูปแบบใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการละเมิด ข้อกำหนด หรืออื่นๆ “ไฮป์” รวมทั้งพนักงาน ลูกจ้าง และ แฟรนไชส์ของบริษัทฯ จะไม่มีพันธะรับผิดชอบต่อผลเสียหายที่เกิดขึ้น หรือความเสียหายอันเนื่องมาจากการผิดข้อกำหนดหรือค่าเสียหายจำเพาะหรือค่าเสียหายอื่นใด ซึ่งรวมถึงการสูญเสียผลประโยชน์จากข้อเรียกร้องใดๆ โดยแฟรนไชส์ท่านอื่น นอกจากนี้ หากเหตุการณ์ตามข้อเรียกร้องดังกล่าวเกิดขึ้นเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี ทั้งสองฝ่ายจะไม่สามารถดำเนินการทางกฎหมายตามข้อผูกพันที่ระบุในข้อตกลงนี้ได้

2.2. ความรับผิดชอบของนักธุรกิจไฮป์

2.2.1. นักธุรกิจไฮป์ เป็นคู่ข้อกำหนดอิสระ ซึ่งจะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับความทุ่มเทความสามารถ นัก ธุรกิจไฮป์ ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆ ทั้งหมดที่เกิดจากการทำธุรกิจ อาทิ ภาษี ภาษีมูลค่าเพิ่ม และประกัน เป็นต้น

2.2.2. นักธุรกิจไฮป์ ตกลง ณ ที่นี้ว่า ในระหว่างเป็นนักธุรกิจไฮป์ จะทุ่มเทกำลังกาย เวลาและความตั้งใจ ทั้งหมดเพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ และจะปฏิบัติงานด้วยความจงรักภักดี และซื่อสัตย์ในทุกๆ เรื่อง และตกลงว่าจะไม่รับการเป็นผู้จำหน่ายของบริษัทขายตรงอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันหรือไม่ โดยไม่ได้รับหนังสือยินยอม จาก ไฮป์ ก่อน

2.2.3. นักธุรกิจไฮป์ มีสิทธิ์ที่จะเป็นเจ้าของหรือเกี่ยวข้องกับการเป็นนักธุรกิจไฮป์ ได้เพียงแห่งเดียว ในเวลาเดียวกัน และไม่อาจร่วมเป็นเจ้าของหรือเจ้าของการจัดจำหน่ายอื่นๆ ของไฮป์

2.2.4. “ไฮป์” ห้ามนักธุรกิจไฮป์ นำเข้าผลิตภัณฑ์ไฮป์ จากต่างประเทศหรือส่งออกผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายโดยไฮป์ ออกนอกราชอาณาจักรไทยโดยวิธีการใดๆ “ไฮป์” มีสินค้าและวัตถุดิบที่นักธุรกิจไฮป์ จำเป็นต้องใช้ในการดำเนินธุรกิจ แต่บริษัทจะไม่รับผิดชอบต่อค่าชดเชย ข้อร้องเรียน ภาระหนี้สิน ความเสียหาย ต้นทุน หรือค่าใช้จ่าย ที่เกิดขึ้นหรือกล่าวอ้างว่าเกิดขึ้นอันเกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการของนักธุรกิจไฮป์ เอง

2.2.5. นักธุรกิจไฮป์ จะไม่ดัดแปลงหรือเปลี่ยนแปลงลักษณะใดๆ ของผลิตภัณฑ์ที่ซื้อจาก “ไฮป์” หรือ เปลี่ยนแปลงบรรจุภัณฑ์ บทความ/ สารคดี เครื่องมือการขายหรือวัสดุใดๆ ที่บริษัทเป็นผู้ผลิต

2.2.6. นักธุรกิจไฮป์ และลูกค้าของนักธุรกิจไฮป์ ตลอดจนพนักงานของนักธุรกิจไฮป์ ไม่ถือว่า เป็นเอเย่นต์หรือตัวแทนของ “ไฮป์” ไม่ว่าในกรณีใดๆ ก็ตามในฐานะคู่ข้อกำหนดอิสระ นักธุรกิจไฮป์ มีความรับผิดชอบตามกฎหมายต่อการกระทำของตนและต่อค่าชดเชยที่มีผู้เรียกร้องจากตน นักธุรกิจไฮป์ จะต้องชดใช้ค่าเสียหายและปกป้องไม่ให้เกิดผลเสียกับทาง “ไฮป์” จากการเรียกค่าชดเชยค่าธรรมเนียมการ ดำเนินการความเสียหาย ค่าธรรมเนียม ข้อร้องเรียน ภาระหนี้สิน การขาดทุน ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหรือกล่าวอ้างว่า เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของนักธุรกิจไฮป์ ทั้งนี้อาจรวมถึงค่าธรรมเนียมของทนายความ

2.2.7. นักธุรกิจไฮป์ ต้องรับผิดชอบในการพยายามขอและรับทราบข้อมูลข่าวสารล่าสุดที่เกี่ยวกับ “ไฮป์” และ นำข้อมูลข่าวสารนั้นๆ ไปเผยแพร่แก่เครือข่ายในองค์กรของตน แบบฟอร์มใหม่ของบริษัทจะแทนที่แบบฟอร์มเก่าเสมอ เมื่อมี การปรับเปลี่ยนแบบฟอร์ม ไฮป์ จะไม่ยอมรับแบบฟอร์มรุ่นเก่า นักธุรกิจไฮป์ ต้องอ้างอิงถึงวันที่ ที่พิมพ์ลงบนแบบฟอร์มแต่ละใบเพื่อที่จะตัดสินได้ถูกต้องว่าชุดใดเป็นชุดล่าสุดของแบบฟอร์มนั้นๆ

2.2.8. นักธุรกิจไฮป์ ไม่ควรถ่ายทอด มอบหมายหน้าที่ให้อำนาจกระทำแทน หรือโอนอำนาจการเป็นนักธุรกิจไฮป์ แก่บุคคลที่สาม โดยมิได้รับหนังสือยินยอมจากทาง “ไฮป์”

2.2.9. นักธุรกิจไฮป์ จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศไทยในการดำเนินธุรกิจ

2.3. ผู้สืบทอดธุรกิจและผู้รับมอบหมาย

ข้อกำหนดการเป็นนักธุรกิจไฮป์ นโยบายและคู่มือการดำเนินธุรกิจ จะผูกพันกับกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องและผู้สืบทอดธุรกิจและผู้ได้รับมอบหมาย

บทที่ 3 กฎระเบียบจรรยาบรรณ

การปฏิบัติตามกฎระเบียบจรรยาบรรณบริษัท เวิลด์ แคชเชอร์ จำกัด จะไม่อนุญาตให้นักธุรกิจไฮป์ กระทำการใดๆ ที่ขัดต่อกฎระเบียบจรรยาบรรณที่บริษัทฯ กำหนดไว้ “ไฮป์” สงวนสิทธิ์ที่จะใช้วิจารณญาณในการตัดสินว่าการกระทำของนักธุรกิจไฮป์ ขัดต่อกฎระเบียบจรรยาบรรณหรือไม่ ตัวอย่างของการทำธุรกิจที่ขัดต่อกฎระเบียบจรรยาบรรณ มีดังนี้

  1. ดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้อง ปกป้องผลประโยชน์ของคุณเอง การเป็นนักธุรกิจไฮป์ หมายถึงโอกาสทางธุรกิจอันมีค่า ที่ให้หลักประกันความมั่นคงด้านการเงินในระยะยาว นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมนักธุรกิจไฮป์ ทุกคน ต่างมุ่งมั่นในธุรกิจของตนอย่างเต็มที่ และปรารถนาที่จะดำเนินธุรกิจนี้ไปตามครรลองของจรรยาบรรณและระเบียบปฏิบัติที่ “ไฮป์” กำหนดไว้สำหรับนักธุรกิจไฮป์ ทุกคน
  2. องค์ประกอบสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จไม่ว่าจะเป็นธุรกิจใด นั่นคือ การดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้องและมีความเคารพ ซึ่งกันและกัน เพื่อพิทักษ์สิทธิประโยชน์อันเท่าเทียมกันทั้งของตัวคุณเองและนักธุรกิจไฮป์ ทุกคน

3.1. พึงยึดมั่นในกฎระเบียบตลอดเวลา

กฎระเบียบ กล่าวไว้ว่า "จงปฏิบัติต่อผู้อื่นดังเช่นที่คุณปรารถนาให้ผู้อื่นปฏิบัติต่อคุณ" สิ่งนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของนักธุรกิจไฮป์ ทุกคนที่จะต้องยึดมั่นในจรรยาบรรณและระเบียบปฏิบัติอย่าง เคร่งครัด ทั้งในด้านการกระทำ และจิตใจ การฝ่าฝืนระเบียบปฏิบัติจะเป็นผลให้เกิดการเพิกถอนสถานภาพการเป็นนักธุรกิจไฮป์ ของคุณ

3.2.ห้ามให้การสปอนเซอร์แก่ผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

ผู้สมัครเป็นนักธุรกิจไฮป์ จะต้องมีอายุครบ 18 ปี โดยผู้ที่อายุไม่ถึง 20 ปีจะต้องมีผู้ปกครองเซ็นยินยอม และจะต้องมีความรับผิดชอบในหลายๆ ด้าน เช่น การทำนิติกรรม การบริหารองค์กร การปฏิบัติตามจรรยาบรรณ และระเบียบปฏิบัติ และความรับผิดชอบด้านการเงิน

3.3. ห้ามพูดเกินความจริงถึงรายได้ที่ได้รับจากธุรกิจไฮป์

ต้องแสดงแผนธุรกิจของไฮป์ อย่างชัดเจน ธุรกิจไฮป์ มิใช่ธุรกิจประเภทรวยทางลัด แต่เป็น โอกาสในการสร้างผลงานที่สามารถบรรลุถึงเป้าหมายได้ โดยจะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ การทำงานด้วยความอุตสาหะ และมานะพากเพียร

3.4. ห้ามขายสินค้าตัดราคา และ/หรือขายสินค้าต่ำกว่าราคาที่บริษัทฯกำหนด

ต้องขายผลิตภัณฑ์ไฮป์ ให้กับลูกค้าในราคาขายปลีกตามที่ “ไฮป์” กำหนดไว้ ผลิตภัณฑ์ไฮป์ ล้วนมีคุณภาพคุ้มค่า สมราคา ในฐานะที่คุณเป็นนักธุรกิจไฮป์ เท่ากับว่าคุณได้ขายทั้งคุณภาพ และบริการให้กับลูกค้า การขายตัดราคาจะลดผลกำไรที่คุณควรได้รับอย่างเต็มที่ ทั้งยังส่งผลกระทบด้วยการเอารัดเอาเปรียบ ผู้ร่วมธุรกิจคนอื่นๆ และทำให้เกิดความสับสนวุ่นวายต่อวงจรการดำเนินธุรกิจอีกด้วย ดังนั้น คุณไม่ควรทำลายภาพลักษณ์ ขององค์กรนักธุรกิจไฮป์ โดยส่วนรวมให้มัวหมองด้วยการกระทำที่ไม่เป็นไปตามครรลองอย่างถูกต้องยุติธรรม หากพบว่ามีสมาชิกได้กระทำการขายสินค้าซึ่งแสดงให้เห็นถึงการขายสินค้าตัดราคา และ/หรือขายสินค้าต่ำกว่าราคาที่บริษัทฯกำหนด บริษัทฯจะดำเนินคดีอย่างถึงที่สุด โดยเรียกร้องค่าเสียหายตามมูลค่าของธุรกิจอย่างน้อย 20 ล้านบาทต่อกรณีที่พิสูจน์ได้ว่ากระทำผิด

3.5. ห้ามพูดเกินความจริงถึงประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์

ต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ตามที่เป็นจริงและเชื่อถือได้ นำเสนอและสาธิตผลิตภัณฑ์ไฮป์ ตามวิธีการที่ได้รับการรับรองจาก “ไฮป์” อย่างถูกต้อง กล่าวถึงคุณลักษณะและคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ ตามที่ระบุ ไว้ในสื่อส่งเสริมธุรกิจหรือฉลากที่บรรจุภัณฑ์ เหนือสิ่งอื่นใด การกล่าวถึงผลิตภัณฑ์จากประสบการณ์ส่วนตัวของคุณเองจะทำให้สมาชิกและลูกค้าเชื่อถือและได้ผลดีที่สุดในการแนะนำผลิตภัณฑ์ต่อสมาชิกและลูกค้า

3.6. อย่าทอดทิ้งสมาชิกและลูกค้าไว้เบื้องหลัง

ต้องให้บริการแก่สมาชิกและลูกค้าด้วยความรับผิดชอบเป็นประจำสม่ำเสมอ สมาชิกและลูกค้าที่พึงพอใจใน ผลิตภัณฑ์นับเป็นสมบัติอันล้ำค่า ดังนั้น จงกลับไปเยี่ยมเยียนพวกเขาอย่างต่อเนื่อง แนะนำผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆ ที่ เป็นประโยชน์ และหมั่นติดตามผลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่คุณขายให้พวกเขาอยู่เสมอ พยายามทำให้เกิดความไว้วางใจใน ผลิตภัณฑ์ด้วยการมอบบริการที่ดีและความพึงพอใจให้กับสมาชิกและลูกค้า

3.7. ห้ามให้การสปอนเซอร์จนกว่าคุณพร้อมที่จะรับผิดชอบ

ต้องให้ความช่วยเหลือ ให้คำแนะนำปรึกษา และแนะแนวทางในการดำเนินธุรกิจที่ถูกต้องแก่นักธุรกิจไฮป์ ในองค์กรของคุณ สิทธิในการให้การสปอนเซอร์แก่ผู้อื่นนั้นหมายรวมถึงหน้าที่ที่คุณจะต้องให้การฝึกอบรม ให้กำลังใจ และมอบเงินส่วนลดจากการขายผลิตภัณฑ์ให้กับนักธุรกิจไฮป์ ในองค์กรของคุณอย่างตรงเวลา การฝึกอบรมเป็น สิ่งสำคัญและจำเป็นแต่นักธุรกิจไฮป์ ไม่ควรที่จะแสวงหาผลประโยชน์จากการฝึกอบรมและการจัดประชุมเพื่อสร้างเสริมกำลังใจ แหล่งรายได้ที่ถูกต้องของธุรกิจ “ไฮป์” ต้องมาจากการขายผลิตภัณฑ์และการให้บริการแก่ สมาชิกและลูกค้าเท่านั้น

3.8. ห้ามเปลี่ยนหรือพยายามชักชวนผู้อื่นให้เปลี่ยนสายการสปอนเซอร์

นักธุรกิจไฮป์ทุกท่าน ต้องเคารพต่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสายการสปอนเซอร์แต่ละสาย ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสายการสปอนเซอร์ เป็นสิ่งสำคัญยิ่งในแผนธุรกิจของไฮป์ ดังนั้นทาง “ไฮป์” ไม่อนุญาตให้มีการชักชวนสมาชิกท่านอื่นในสายงานอื่นให้ย้ายสถานภาพการเป็น นักธุรกิจไฮป์ หรือสมาชิก จากผู้สปอนเซอร์คนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งในทุกกรณีโดยเด็ดขาด เนื่องจากการโยกย้ายเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จะนำไปสู่ความขัดแย้งและเป็นผลเสียต่อประโยชน์ทางธุรกิจของนักธุรกิจไฮป์ ทุกท่าน

3.9. ห้ามเปลี่ยนสายการสปอนเซอร์ในองค์กรของตนเอง

“ไฮป์” เชื่อว่านักธุรกิจไฮป์ เป็นเจ้าของหน่วยธุรกิจไฮป์ของตนเอง ทุกท่านได้มีการวางแผนและตัดสินใจดีที่สุดแล้วก่อนการสมัครสมาชิกในสายการสปอนเซอร์ของท่าน ดังนั้นทาง “ไฮป์” ไม่อนุญาตให้มีการขอเปลี่ยนแปลงหรือย้ายสายงานภายใต้องค์กรของท่านเอง ภายหลังจากที่มีการสมัครสมาชิกในสายการสปอนเซอร์ของท่านไปแล้ว ในทุกกรณีโดยเด็ดขาด ทั้งนี้ให้รวมถึงกรณีการลาออกจากสมาชิก และสมัครเข้ามาใหม่ภายใต้ชื่อสมาชิกเดิมด้วย

3.10. ห้ามเปลี่ยนผู้แนะนำเหนือองค์กรของตนเอง

“ไฮป์” ไม่อนุญาตให้นักธุรกิจไฮป์ทุกท่าน ขอเปลี่ยนแปลงผู้แนะนำเหนือตัวท่านและองค์กรของท่านในทุกกรณีโดยเด็ดขาด เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จะนำไปสู่ความขัดแย้งและเป็นผลเสียต่อประโยชน์ทางธุรกิจของนักธุรกิจไฮป์ ทุกท่าน

“ไฮป์” กำหนดบทลงโทษ สำหรับ นักธุรกิจไฮป์ ทั้งผู้ชักชวน และ ผู้ที่ได้รับการชักชวน ที่ทำผิดกฏระเบียบข้อปฏิบัติตาม รายละเอียดในหัว ข้อ 3.8. ข้อ 3.9. และข้อ 3.10. ไว้ดังนี้

  1. ทำผิดครั้งแรก ทาง “ไฮป์” จะทำการตักเตือนด้วยการไม่มีการคำนวณโบนัสรอบใหม่ของรอบต่อไปเป็นระยะเวลา 7 วัน โดยนับวันแรกเริ่มจากวันที่นักธุรกิจไฮป์ ได้รับโบนัสครบ $150 ไปแล้ว
  2. ทำผิดซ้ำครั้งที่สอง ทาง “ไฮป์” จะทำการยกเลิกสถานะการเป็นสมาชิกของนักธุรกิจไฮป์ เป็นการถาวร และจะไม่อนุญาตให้นักธุรกิจไฮป์ ที่มีความผิด กลับเข้ามาเป็นสมาชิกนักธุรกิจใน “ไฮป์” อีกต่อไป

3.11. ห้ามอาศัยเครือข่ายของนักธุรกิจไฮป์ เป็นแหล่งขายผลิตภัณฑ์อื่นที่มิใช่ของไฮป์

จงมุ่งจำหน่ายแต่ผลิตภัณฑ์ไฮป์ ซึ่งมีการรับประกันความพอใจให้กับสมาชิกและลูกค้าอย่างเต็มที่ องค์กรนักธุรกิจไฮป์ ก่อตั้งขึ้นโดย บริษัท เวิลด์ แคชเชอร์ จำกัด และนักธุรกิจไฮป์ ซึ่งร่วมงานกัน อย่างใกล้ชิดในฐานะหุ้นส่วนทางธุรกิจ ดังนั้น นักธุรกิจไฮป์ จะต้องไม่ช่วงชิงหรือตักตวงผลประโยชน์จากความรู้ หรือการติดต่อสัมพันธ์กับนักธุรกิจไฮป์ คนอื่นๆ ในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์หรือบริการใดๆ ที่มิใช่ ผลิตภัณฑ์หรือ บริการของ “ไฮป์” ที่ได้รับอนุญาตแล้วเพราะการกระทำดังกล่าวจะนำมาซึ่ง ความยุ่งยากที่ไม่เป็นหลักประกันอัน แน่นอนและไร้เหตุผลต่อนักธุรกิจไฮป์ คนอื่นๆ และไฮป์ ก็ไม่อนุญาตต่อการกระทำดังกล่าวนี้ด้วย

3.12. ห้ามสั่งซื้อหรือจัดมอบผลิตภัณฑ์ไฮป์ ให้กับนักธุรกิจไฮป์ หรือสมาชิกในสายการสปอนเซอร์อื่น

ต้องสั่งซื้อผลิตภัณฑ์จากผู้สปอนเซอร์หรือนักธุรกิจไฮป์ จากสายการ สปอนเซอร์ของคุณ หรือจาก บริษัท เวิลด์ แคชเชอร์ จำกัด เท่านั้น การคำนวณผลตอบแทนควรจะเป็นยอดที่ส่งขึ้นไปยังอัพไลน์ในสายการสปอนเซอร์ของคุณ จงจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้กับนักธุรกิจไฮป์ ที่เป็นดาวน์ไลน์หรือสมาชิกในสายการสปอนเซอร์ของคุณเองเท่านั้น เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาความขัดแย้งระหว่างองค์กรนักธุรกิจไฮป์

3.13. อย่าขายผลิตภัณฑ์ไฮป์ แบบเคาะประตูบ้าน

จงสร้างธุรกิจของคุณจากเพื่อนฝูงและการติดต่ออย่างสม่ำเสมอ ธุรกิจ “ไฮป์” เป็นธุรกิจที่อาศัยความ สัมพันธ์แบบบุคคลต่อบุคคล การจำหน่ายปลีกผลิตภัณฑ์ไฮป์ ด้วยการเคาะประตูบ้าน การเที่ยวชักชวนไปทั่ว หรือการส่งข่าวสารข้อมูลทางไปรษณีย์ จะเป็นการทำลายภาพลักษณ์ของนักธุรกิจมืออาชีพของไฮป์

3.14. ห้ามขายหรือตั้งแสดงผลิตภัณฑ์ไฮป์ ในร้านค้าปลีก

ต้องให้บริการแบบเป็นกันเองอย่างเต็มที่แก่สมาชิกและลูกค้าของคุณ ธุรกิจ “ไฮป์” เป็นธุรกิจขายตรง การขายผลิตภัณฑ์ไฮป์ ตามเคาน์เตอร์จำหน่ายหรือการตั้งแสดงผลิตภัณฑ์ไฮป์ ในร้านค้าปลีก งานแสดงสินค้า หรือนิทรรศการต่างๆ จะก่อให้เกิดการแข่งขันที่ไม่ยุติธรรมในหมู่นักธุรกิจไฮป์ และเป็นการฝ่าฝืน ระเบียบปฏิบัติของนักธุรกิจไฮป์

3.15. อย่าสร้างความกดดันในการขาย

ต้องเคารพต่อสิทธิเสรีภาพในการตัดสินใจของแต่ละบุคคล พึงดำเนินธุรกิจด้วยท่าทีสุภาพอ่อนน้อม การใช้เทคนิค สร้างความกดดันในการขายกลับจะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของคุณในฐานะนักธุรกิจไฮป์ และภาพลักษณ์ โดยรวมขององค์กรนักธุรกิจไฮป์ ทั้งหมดแต่ละคนล้วนมีแผนการส่วนตัวในชีวิตของตน และพึงเข้าใจว่ามิใช่ทุกคน ไปที่ต้องการเข้าร่วมเป็นนักธุรกิจไฮป์

3.16. อย่ากักตุนหรือบังคับให้ผู้อื่นกักตุนผลิตภัณฑ์

จงปฏิบัติตามกฎ 70% การกักตุนผลิตภัณฑ์ถือเป็นการดำเนินธุรกิจที่ไม่ถูกต้อง คุณควรขายผลิตภัณฑ์อย่างน้อย 70% ของผลิตภัณฑ์ที่คุณเก็บสต็อคสำรองไว้ในแต่ละเดือนรวมทั้งไม่ควรบังคับให้นักธุรกิจไฮป์ ในองค์กรของคุณ เก็บสต็อคผลิตภัณฑ์มากกว่าจำนวนที่เขาจะขายได้ในแต่ละเดือนการกระทำดังกล่าวจะทำให้คุณกำลังดำเนินธุรกิจในรูป แบบ “ปิระมิด” ที่ผิดกฎหมาย

3.17. ห้ามละเมิดสิทธิเรื่องเครื่องหมายการค้าของ “ไฮป์”

ต้องได้รับการอนุญาตจาก “ไฮป์” ก่อนการใช้ชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้าของ “ไฮป์” การปกป้องชื่อทางการค้าและเครื่องหมายการค้าของ “ไฮป์” เป็นเรื่องสำคัญมาก “ไฮป์” ห้ามมิให้มีการ ผลิตและจำหน่ายเทปและอุปกรณ์ส่งเสริมธุรกิจอื่นๆ ในองค์กรนักธุรกิจไฮป์ หาก “ไฮป์” สูญเสียสิทธิ ในเรื่องดังกล่าว บริษัทอื่นๆ ก็สามารถที่จะผลิตผลิตภัณฑ์โดยใช้ชื่อของ “ไฮป์" ซึ่งจะก่อให้เกิดความสับสนและ ความเสียหายอันไม่สามารถแก้ไขได้แก่องค์กรธุรกิจของนักธุรกิจไฮป์ ทุกคน

บทที่ 4 การสั่งซื้อผลิตภัณฑ์

4.1 ข้อกำหนดสำหรับการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์

ในการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ นักธุรกิจไฮป์ รับรองว่าได้ทำการจำหน่ายหรือบริโภคเพื่อใช้เป็นการส่วนตัวอย่างน้อย 70% ของจำนวนที่สั่งซื้อครั้งก่อน นอกจากนี้นักธุรกิจไฮป์ ยอมรับความพึงพอใจกับการสั่งซื้อครั้งก่อน และไม่ประสงค์ที่จะส่งคืนหรือแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ที่ได้สั่งซื้อ ครั้งก่อน

4.2. อ้างอิงถึงแผนการตลาดเรื่องการจ่ายโบนัส

นักธุรกิจไฮป์ ของ “ไฮป์” เป็นผู้ประกอบการอิสระและอาจกำหนดราคาขายปลีกของตนเองได้ อย่างไรก็ตามนักธุรกิจไฮป์ ที่ขายปลีกต้องแน่ใจว่าดาวไลน์ชองตนขายผลิตภัณฑ์ไฮป์ จำกัด ในราคา เดียวกันกับที่บริษัทตั้งไว้ คือ 20% - 31%จากราคาสมาชิกและจะไม่ขายในราคาต่ำกว่าราคาขายส่ง

“ไฮป์” มีสิทธิ์ที่จะเปลี่ยนแปลงยอดการจำหน่าย และ/ หรือราคาผลิตภัณฑ์ โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

4.3. การสั่งซื้อผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ตออนไลน์

นักธุรกิจไฮป์ สามารถทำการสั่งซื้อสินค้าต่างๆ กับทางบริษัทได้ โดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ตออนไลน์

ขั้นตอนแรก ทำการ Login ด้วยรหัสและพาสเวิร์ดของท่าน

ขั้นตอนที่สอง เมื่อทำการ Login เข้ามาแล้วให้เลือกไปที่ร้านค้า จะพบเมนูสั่งซื่อสินค้า

ขั้นตอนที่สาม นักธุรกิจไฮป์ สามารถกดเลือกสั่งซื้อ โดยคลิ๊กที่กล่องด้านล่างผลิตภัณฑ์ และเลือกจำนวนสินค้าที่ ท่านต้องการ

ขั้นตอนที่สี่ นักธุรกิจสามารถทำการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ในการจัดส่งด้วยตนเอง หรือหากต้องการรับสินค้าด้วยตนเอง ท่านสามารถดำเนินการได้เช่นเดียวกัน

ขั้นตอนที่ห้า จะเป็นขั้นตอนของการชำระเงิน

นักธุรกิจสามารถชำระเงินโดยการโอนเงินเข้าบัญชีบริษัท ท่านสามารถทำการโอนเงินเข้ามาที่บัญชีของบริษัท ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) เลขที่บัญชี 0708785601 บัญชีเงินฝากออมทรัพย์

ต่อไปสมาชิกต้องทำการส่งอีเมล์ใบสลิปที่โอนเงินหรือหลักฐานการโอนเงินเรียบร้อย มาที่ [email protected] แจ้งรายละเอียดของการโอนเงินเข้ามาโดยจะต้องระบุรหัสสมาชิก และหมายเลขการสั่งซื้อให้ชัดเจนและถูกต้อง ใส่ชื่อผู้ที่ดำเนินการสั่งซื้อสินค้าในครั้งนี้พร้อมเบอร์โทรศัพท์ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับได้อย่างสะดวกรวดเร็วกับสมาชิก

4.4. การต่ออายุสำหรับนักธุรกิจไฮป์

 4.4.1. การต่ออายุสำหรับนักธุรกิจ ทางบริษัท เวิลด์ แคชเชอร์ จำกัด มีข้อกำหนดว่านักธุรกิจสามารถทำการต่ออายุสมาชิกของตนเองได้ก่อนครบกำหนดอายุสมาชิก 52 สัปดาห์

 4.4.2. วิธีการต่ออายุสมาชิก เข้ารหัสประจำตัวของนักธุรกิจไฮป์ ขั้นตอนการต่ออายุจะเหมือนกับการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ตออนไลน์ทุกขั้นตอน และชำระเงินก็เสร็จสิ้นการต่ออายุสมาชิก

ถ้านักธุรกิจมีข้อสงสัยสามารถติดต่อมาที่ฝ่ายบริการลูกค้าสัมพันธ์ เบอร์โทรศัพท์. 0956654697 หรือส่งผ่านอีเมล์ [email protected] 

4.5. การรับสินค้า

นักธุรกิจไฮป์ จำเป็นต้องตรวจเช็คจำนวนและสภาพของผลิตภัณฑ์เมื่อมารับสินค้า หากเกิดชำรุดจากการขนส่งของบริษัทฯ ต้องแจ้งทางบริษัทฯ และรับฟังวิธีการส่งคืนจากพนักงานบริการ บริษัท เวิลด์ แคชเชอร์ จำกัด จะไม่รับคืนผลิตภัณฑ์ที่เสียหาย หรือที่ซื้อผิด และไม่ให้ทดแทนกรณีที่จำนวนไม่ครบ เมื่อได้มีการรับคืนสินค้าไปแล้ว และไม่ติดต่อบริษัทภายใน 10 วัน แต่ในกรณีที่เป็นลูกค้าซื้อปลีกของสมาชิกบริษัทฯ สามารถเรียกเงินคืนได้จากสมาชิกเต็มจำนวน และสมาชิกท่านนั้นสามารถเรียกเงินคืนได้ แต่บริษัทฯจะต้องหักค่าขนส่งและสินค้าต้องอยู่ในสภาพคงเดิมจากที่บริษัทฯได้จัดส่งไป นักธุรกิจไฮป์ จะต้องเซ็นชื่อกำกับบนใบเสร็จรับเงินทุกครั้ง

4.6. ขั้นตอนการจัดส่งสินค้า

4.6.1. “ไฮป์” จัดส่งสินค้าเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ค่าบริการจัดส่งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดเป็นไปตามที่บริษัทฯประกาศ

4.6.2. “ไฮป์” สงวนสิทธิ์ที่จะจัดส่งสินค้าผ่านทางบริษัทขนส่งตามที่บริษัทฯเห็นสมควร บริษัทฯจะเลือกบริษัทขนส่งที่ไว้วางใจได้ ซึ่งให้บริการตามความต้องการของนักธุรกิจไฮป์ หลังจากรับสินค้าไปแล้ว นักธุรกิจไฮป์ ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของบริษัทขนส่ง ในเรื่องการจัดส่ง หรือไม่ได้รับสินค้าในกรณีที่สินค้าตีกลับมาที่ไฮป์ บริษัทฯ จะประเมินค่าบริการการส่งกลับคืน และนักธุรกิจไฮป์ ต้องชำระค่าจัดส่งนี้ ถ้านักธุรกิจไฮป์ต้องการให้มีการจัดส่งสินค้าอีกครั้ง บริษัทฯ จะประเมินค่าบริการการจัดส่งครั้งที่สองที่ได้เกิดขึ้นจริงตามที่บริษัทขนส่งเรียกเก็บและนักธุรกิจไฮป์ ต้องชำระค่าจัดส่งนี้

บทที่ 5 นโยบายการขายปลีก

นักธุรกิจไฮป์ เป็นผู้ประกอบการอิสระและไม่สามารถตั้งราคาขายปลีกของตนเองได้ อย่างไรก็ตามนักธุรกิจไฮป์ต้องแน่ใจว่าจะไม่ขายผลิตภัณฑ์ของไฮป์ เกินกว่าหรือน้อยกว่า 30% - 35% ของราคาขายส่ง

5.1 ร้านค้าขายปลีก

นักธุรกิจไฮป์ ไม่สามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์หรือแนะนำโอกาสทางธุรกิจผ่านร้านค้าขายปลีกประเภทตลาดขายอาหาร ร้านขายยา และร้านอื่นๆ ประเภทนี้ โดยมิได้รับหนังสือยินยอมจาก “ไฮป์” ก่อน

5.2 ประเภทธุรกิจการบริการ

นักธุรกิจไฮป์ ที่เป็นเจ้าของธุรกิจบริการสามารถจัดหาผลิตภัณฑ์ของไฮป์ ให้กับลูกค้าของท่านผ่านทางธุรกิจนั้น ธุรกิจการบริการ คือธุรกิจที่รายได้หลักเกิดจากการให้บริการเป็นการส่วนตัวมากกว่าการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างธุรกิจการบริการ ได้แก่ สำนักงานของแพทย์ ทันตแพทย์ และอาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการให้บริการด้านสุขภาพ เฮลท์คลับ ร้านทำผม และธุรกิจอื่นๆ ที่ลูกค้าใช้สถานที่ด้วยการเป็นสมาชิกหรือด้วยการนัดหมายล่วงหน้า

“ไฮป์” ขอสงวนสิทธิ์ในการตัดสินว่าธุรกิจนั้นเป็นธุรกิจเกี่ยวกับการบริการหรือไม่ สำหรับการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ

5.3 ศูนย์บริการจำหน่ายผลิตภัณฑ์

นักธุรกิจไฮป์ ที่เปิดศูนย์บริการจำหน่ายเพื่อแนะนำผลิตภัณฑ์ของไฮป์ สามารถที่จะจัดตั้งธงของไฮป์ หรืออุปกรณ์ส่งเสริมธุรกิจอื่นๆ ที่ซื้อมาจากสำนักงานของไฮป์ นักธุรกิจไฮป์ ไม่สามารถจัดแสดงสิ่งอื่นๆ ที่ไม่ได้รับการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรจากบริษัทฯ เพื่อเป็นมาตรฐานเดียวกับ “ไฮป์” จะตั้งชื่อให้กับศูนย์บริการจำหน่ายตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ศูนย์นั้นตั้งอยู่ โดยนักธุรกิจไฮป์ ต้องมาติดต่อฝ่ายบริการลูกค้าเพื่อขออนุมัติ เปิด หรือดำเนินการศูนย์บริการจำหน่าย

5.4 วิธีการขายที่ไม่ได้รับการอนุมัติ

นักธุรกิจไฮป์ ไม่สามารถจัดจำหน่ายหรือแนะนำผลิตภัณฑ์ของไฮป์ หรือโอกาสการทำธุรกิจผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตโดยไม่ได้รับหนังสืออนุมัติจาก “ไฮป์” ก่อน บริษัทฯห้ามการขายหรือเผยแพร่ผ่านสื่อทุกรูปแบบ ซึ่งรวมถึงหนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุ โทรทัศน์ และแผ่นป้ายโฆษณา

บทที่ 6 นโยบายการแลกเปลี่ยนและคืนผลิตภัณฑ์

6.1. การรับประกันผลิตภัณฑ์

ไฮป์” รับประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของบริษัทฯ นโยบายการรับคืนสินค้ารวมถึงผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของ “ไฮป์” ยกเว้น คู่มือของนักธุรกิจไฮป์ และอุปกรณ์ส่งเสริมธุรกิจ

ถ้าผลิตภัณฑ์ชำรุดหรือบกพร่องด้วยเหตุใดๆ ก็ตาม “ไฮป์" จะจ่ายเงินค่าผลิตภัณฑ์ที่ส่งคืนให้เต็มจำนวนหรือรับแลกเปลี่ยน นักธุรกิจไฮป์ จะต้องส่งคืนผลิตภัณฑ์ที่ชำรุดหรือบกพร่อง ภายใน 7 วัน นับจากวันที่สั่งซื้อผลิตภัณฑ์ โดยปฏิบัติตาม ขั้นตอนการคืนผลิตภัณฑ์ที่ระบุไว้ด้านล่างนี้ “ไฮป์” จะทำการตรวจสอบสินค้าที่ส่งคืนมาทั้งหมด ก่อนที่จะอนุมัติให้มีการคืนเงินหรือแลกเปลี่ยน ถ้านักธุรกิจไฮป์ ต้องการคืนเงินหรือแลกเปลี่ยนสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ชำรุดจะต้องนำสำเนาใบเสร็จรับเงินและผลิตภัณฑ์ที่ชำรุดมาส่งคืนด้วย ถ้านักธุรกิจไฮป์ ไม่ได้นำผลิตภัณฑ์ที่ชำรุดมาส่งคืนภายในระยะเวลาที่กำหนด เมื่อต้องการเปลี่ยนสินค้าใหม่ก็จะไม่สามารถทำได้

อย่างไรก็ตาม “ไฮป์” ถือเป็นความรับผิดชอบของนักธุรกิจไฮป์ ที่จะคืนเงินค่าผลิตภัณฑ์เต็มจำนวนหรือเปลี่ยนสินค้าให้กับลูกค้าของตนไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตาม

นักธุรกิจไฮป์ ไม่มีสิทธิในการเรียกค่าชดเชยทั้งหมดสำหรับการรับประกันสินค้า เมื่อนักธุรกิจไฮป์ ไม่สามารถแจ้งความเสียหายที่ครบถ้วนของสินค้าในการรับประกันสินค้าที่จะเรียกค่าชดเชย “ไฮป์” จะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ หรือเป็นผลที่เกิดทั้งทางตรงหรือทางอ้อมจากการจำหน่ายสินค้าที่ชำรุด

6.2. การจ่ายคืนโบนัส / การหักคืนยอดการจำหน่าย

ตามนโยบายการจ่ายคืนเงินของ “ไฮป์” นักธุรกิจไฮป์ ทั้งหมดจะต้องถูกหักยอดจำหน่ายเนื่องจากการคืนสินค้า ถ้านักธุรกิจไฮป์ ไม่มียอดจำหน่ายในจำนวนเงินที่ “ไฮป์” จะหักได้ “ไฮป์” สงวนสิทธิ์ที่จะขอคืนโบนัสที่บริษัทฯจ่ายให้นักธุรกิจไฮป์ ไปแล้วสำหรับสินค้าที่นักธุรกิจไฮป์ หรือสมาชิกในองค์กรของตนส่งคืน

6.3. นโยบายการรับคืนสินค้า

นโยบายการคืนสินค้าของ “ไฮป์” ไม่ได้รวมถึงคู่มือการดำเนินธุรกิจของไฮป์ และเครื่องมือสนับสนุนการจำหน่าย ดังนั้นคู่มือการดำเนินธุรกิจและเครื่องมือสนับสนุนการจำหน่าย จึงไม่เข้าข่ายการคืนเงิน การแลกเปลี่ยน หรือการรับคืนสินค้า

นโยบายทั่วไป

“ไฮป์” จะรับคืนเงินหรือแลกเปลี่ยนสินค้า ตามเงื่อนไข ดังนี้

  1. สินค้าที่ต้องการคืน เสียหายระหว่าการจัดส่ง
  2. สินค้าที่จัดส่งไปไม่ได้มาตรฐาน

นักธุรกิจไฮป์ ต้องยื่นคำร้องเพื่อแลกเปลี่ยนหรือขอเงินคืนภายใน 30 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับสินค้า ซึ่งตามมาตรฐานคุณภาพการรับคืนสินค้าจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่ง หรือมากกว่าตามที่ระบุไว้ข้างต้น นอกจากนี้ นักธุรกิจไฮป์ ต้องคืนสินค้าดังกล่าวที่ บริษัท เวิลด์ แคชเชอร์ จำกัด ภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่สั่งซื้อ และบริษัทฯ จะตรวจสอบสินค้าที่ส่งคืนทั้งหมดก่อนที่จะอนุมัติให้คืนเงินหรือแลกเปลี่ยน

หากนักธุรกิจไฮป์ ไม่ได้แจ้ง “ไฮป์” เป็นลายลักษณ์อักษรถึงปัญหาของสินค้าที่กล่าวข้างต้นภายใน 30 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับสินค้า และส่งคืนสินค้าที่ซื้อไปภายใน 30 วัน บริษัทฯให้ถือว่าสิทธิของนักธุรกิจไฮป์ ที่ยื่นคำร้องเป็นโมฆะ

หากนักธุรกิจไฮป์ ยื่นคำร้องเพื่อเปลี่ยนสินค้าตามเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งหรือมากกว่าที่กล่าวข้างต้น “ไฮป์” จะให้เปลี่ยนสินค้าที่ไม่ชำรุด/เสียหาย แทนสินค้าที่ส่งคืนทุกๆ ครั้งที่เป็นไปได้ อย่างไรก็ตามเมื่อการแลก เปลี่ยนไม่สามารถกระทำได้ “ไฮป์” สงวนสิทธิ์ที่จะหักคืนยอดการจำหน่าย และออกใบลดหนี้ตามจำนวนราคา ของสินค้าที่แลกเปลี่ยนและเรียกคืนยอดการจำหน่าย

การสั่งซื้อเป็นครั้งแรก

หากนักธุรกิจไฮป์ และผู้บริโภคได้ซื้อผลิตภัณฑ์ของไฮป์ เป็นครั้งแรกสามารถส่งคืนสินค้าดังกล่าวภายใน 7 วันทำการนับแต่วันสั่งซื้อ แต่บริษัทฯมีสิทธิ์ที่จะหักค่าขนส่ง ค่าโบนัส และค่าภาษี และบริษัทฯถือว่าสมาชิกท่านนั้นมีความต้องการที่จะยกเลิกการทำธุรกิจกับบริษัทไฮป์ นักธุรกิจไฮป์ และผู้บริโภคจะได้รับการเปลี่ยนสินค้าหรือรับเงินคืนในราคาเต็มจำนวน บริษัทฯจะตรวจสอบสินค้าที่ส่งคืนทั้งหมดก่อนที่จะอนุมัติให้คืนเงินหรือแลกเปลี่ยน

การคืนสินค้าทั่วไป

“ไฮป์” จะคิดค่าบริการ 20% ของราคาซื้อและจะคืนเงิน 80% ของราคาซื้อ (แต่บริษัทมีสิทธิ์ที่จะหักค่าขนส่ง ค่าโบนัส และค่าภาษี (VAT) หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องจาก 80% ของราคาขายส่ง) ถ้าสินค้าที่ได้รับคืนมานั้นยังไม่ได้เปิดใช้ ไม่มีการดัดแปลง และสามารถนำมาขายใหม่ได้ นักธุรกิจไฮป์ จะต้องส่งคืนสินค้ามาที่บริษัทฯ ภายใน 30 วันนับแต่วันสั่งซื้อ ระยะเวลา 30 วันนี้ใช้สำหรับการคืนผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของ “ไฮป์" ยกเว้น คู่มือการดำเนินธุรกิจและเครื่องมือสนับสนุนการทำธุรกิจ

นักธุรกิจไฮป์ หรือผู้บริโภคที่ไม่ได้ยื่นเอกสารที่แจ้งด้านล่างนี้ให้กับ “ไฮป์” ภายในเวลาที่กำหนดจะไม่ได้รับเงินคืนหรือการเปลี่ยนสินค้า

  1. แบบฟอร์มการขอคืนสินค้าที่กรอกข้อมูลสมบูรณ์ ถูกต้อง และเป็นจริง
  2. สินค้าส่วนที่ยังไม่ได้ใช้
  3. สำเนาใบเสร็จรับเงินที่ออกจาก “ไฮป์”

บทที่ 7 การโฆษณา และสื่อส่งเสริมธุรกิจ

7.1 ข้อแนะนำโดยรวม

บริษัทฯ ห้ามมิให้ลงสื่อโฆษณาทุกรูปแบบในการเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ หรือโอกาสในการทำธุรกิจ โดยมิได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากบริษัทฯ ซึ่งอาจรวมถึงหนังสือพิมพ์ นิตยสาร แผ่นพับ วิทยุ โทรทัศน์ แผ่นป้ายและเว็บไซต์ทางอินเตอร์เน็ต นักธุรกิจไฮป์ จะทำได้ โดยแนะนำผลิตภัณฑ์ของ “ไฮป์” โดยการติดต่อเป็นรายบุคคลหรือใช้บทความ ซึ่งบริษัทฯเป็นผู้ผลิตและเผยแพร่เท่านั้น

การใช้ชื่อการค้า รูปภาพ สัญลักษณ์การค้า หรือเครื่องหมายการค้าที่เกี่ยวข้องกับ “ไฮป์” จะต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจาก ไฮป์ นักธุรกิจไฮป์ ต้องยื่นคำร้องเป็นลายลักษณ์อักษรกับ “ไฮป์” ในการใช้ชื่อและสัญลักษณ์ต่างๆ ที่กล่าวข้างต้น โดยจะใช้เวลาในการอนุมัติไม่เกิน 3 สัปดาห์ นักธุรกิจไฮป์ จะได้รับหนังสืออนุมัติพร้อมกับหมายเลขที่ใช้ในการตรวจสอบนักธุรกิจไฮป์ ต้องแสดงหมายเลขนี้ อย่างชัดเจนบนอุปกรณ์หรือเอกสารทั้งหมดที่ได้รับการอนุมัติให้ใช้ได้อย่างเป็นทางการจาก ”ไฮป์” บริษัทอนุญาตให้เฉพาะนักธุรกิจไฮป์ ที่ขออนุมัติเท่านั้น ที่สามารถใช้อุปกรณ์หรือเอกสารนี้ไม่สามารถโอนไปให้นักธุรกิจไฮป์ หรือบุคคลอื่นๆ ได้

7.2 สื่อส่งเสริมธุรกิจ

“ไฮป์” มีสื่อส่งเสริมในการดำเนินธุรกิจให้กับนักธุรกิจไฮป์ บริษัทสนับสนุนให้นักธุรกิจไฮป์ ใช้สื่อเหล่านี้ สำหรับตลาดในประเทศไทยเท่านั้น ในการส่งเสริมการจำหน่าย และพัฒนาธุรกิจเครือข่ายในองค์กรของตน อย่างไรก็ดี “ไฮป์” มีสิทธิ์แต่ผู้เดียว ในการผลิตซ้ำสื่อเหล่านี้ เนื่องจากคุณภาพของตัวสำเนา เทปวีดีโอ และเทปเสียงที่ผลิตซ้ำจะมีคุณภาพด้อยลงจากต้นฉบับ “ไฮป์” จะจดลิขสิทธิ์เครื่องมือสนับสนุนการดำเนินธุรกิจที่ผลิตเองทั้งหมด เพื่อรักษาชื่อเสียงของความเป็นมืออาชีพของ “ไฮป์”

“ไฮป์” ไม่อนุญาตให้นักธุรกิจไฮป์ ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ลอกเลียนแบบ ทำสำเนา หรือผลิตซ้ำส่วนใดส่วนหนึ่งของสื่อสิ่งพิมพ์ของ “ไฮป์” ประกอบด้วยหนังสือ นิตยสาร วีดีโอ เทปเสียง สื่อภาพ โบรชัวร์ จดหมายข่าว และแผ่นพับ

7.3 การอวดอ้างเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์

นักธุรกิจไฮป์ ต้องไม่อวดอ้างผลิตภัณฑ์ ยกเว้น เฉพาะสิ่งที่ตรงกับข้อมูลที่พิมพ์อยู่ในบทความของ “ไฮป์” การให้ข้อมูลโดยทางวาจาและทางลายลักษณ์อักษรทั้งหมด เกี่ยวกับคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์และวิธีใช้ต้องสอดคล้องกับนโยบายที่เป็นลายลักษณ์อักษรของ “ไฮป์” 

นักธุรกิจไฮป์ ไม่ควรใช้บทความที่ไม่ได้รับอนุมัติอย่างเป็นทางการจาก “ไฮป์” หรือกล่าวอ้างอย่างไม่เป็นทางการเกี่ยวกับ “ไฮป์” นอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่ในบทความที่เป็นทางการของ “ไฮป์” บริษัทฯจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆ ก็ตาม ไม่ว่าจะเกิดโดยไม่ตั้งใจ หรือเป็นผลจากการกระทำอันเนื่องมาจากกลุ่มบุคคลที่อวดอ้างเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และ/ หรือบริการของ “ไฮป์” โดยทางตรงหรือทางอ้อม นอกจากนี้ “ไฮป์” จะไม่รับผิดชอบต่อการอวดอ้าง คำร้องเรียน การสูญเสีย หรือค่าใช้จ่ายที่ปราศจากหลักฐาน ซึ่งเกิดจากการฝ่าฝืนข้อข้อกำหนดที่ระบุไว้ชัดเจนและเป็นที่เข้าใจกัน ถ้านักธุรกิจไฮป์ ไม่ใช่ผู้ให้บริการด้านสุขภาพที่มีใบอนุญาต ไม่ควรวินิจฉัยหรือรักษาอาการที่ผิดปกติต่างๆ อาการป่วยหรือปัญหาสุขภาพเรื้อรัง

7.4 การพูดแสดงความเห็นในที่สาธารณะ

การที่นักธุรกิจไฮป์ ช่วยบริษัทฯ ในการคิดค้นวิธีที่จะนำเสนอผลิตภัณฑ์และแผนการตลาดเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง การปฏิบัติตามกฎระเบียบและคำแนะนำที่ระบุไว้ในนโยบายและคู่มือการดำเนินธุรกิจจะช่วยให้มั่นใจในการปฏิบัติตาม เรื่องหลักๆ ที่นักธุรกิจไฮป์ ต้องหลีกเลี่ยง คือ การอวดอ้างเกี่ยวกับรายได้หรือผลิตภัณฑ์ ที่ไม่เป็นความจริงหรือก่อให้เกิดความเข้าใจผิด และใช้วัสดุที่ “ไฮป์” ไม่ได้ผลิตหรือตรวจสอบ ข้อแนะนำบางอย่างเกี่ยวกับการแสดงความเห็นในที่สาธารณะมีดังนี้

  1. นักธุรกิจไฮป์ จะไม่กล่าว/ แสดงให้เกิดความเข้าใจผิดหรือไม่มีเหตุผลเกี่ยวกับการคาดหวังในรายได้
  2. นักธุรกิจไฮป์ จะไม่ให้ความเห็นว่า เพียงแค่เข้าร่วมกับผู้จำหน่ายหรือ “ไฮป์” ใครๆ ก็สามารถหรือจะทำกำไรหรือรายได้ (ไม่ว่าจะเป็นจากการทำกิจกรรมของนักธุรกิจไฮป์ หรือจากของผู้อื่น) โดยไม่ต้องใช้ความทุ่มเทมากมาย
  3. นักธุรกิจไฮป์ จะไม่อวดอ้างว่าผลิตภัณฑ์ของไฮป์ สามารถรักษาโรคหรือรักษาอาการป่วยได้

7.5 นามบัตรและเครื่องเขียน

“ไฮป์” ได้กำหนดมาตรฐานของนามบัตรและเครื่องเขียนทั้งหมดไว้แล้ว ในการประกอบธุรกิจไฮป์ ของท่านในประเทศไทยนักธุรกิจไฮป์ ต้องใช้นามบัตรของ “ไฮป์” เท่านั้น ส่วนการอ้างอิงถึงเครื่องเขียน นักธุรกิจไฮป์ ต้องใช้เครื่องเขียนของตนที่พิมพ์ในลักษณะตรงตามรูปแบบที่ “ไฮป์” อนุมัติ

นักธุรกิจไฮป์ ซึ่งประสงค์จะใช้เครื่องเขียนที่แสดงชื่อของ “ไฮป์” หรือสัญลักษณ์การค้า ต้องขอสำเนาต้นฉบับจาก “ไฮป์” ก่อน

นักธุรกิจไฮป์ จะต้องรับผิดชอบในการพิมพ์เครื่องเขียนด้วยสำเนาต้นฉบับ (นักธุรกิจไฮป์ หรือบุคคลอื่นๆ ต้องไม่ดัดแปลงใดๆ ต่อสำเนาต้นฉบับ) ในการขอรายละเอียดเพิ่มเติม หรือต้องการเตรียมที่จะรับสำเนาต้นฉบับของเครื่องเขียนของ “ไฮป์” โดยติดต่อสำนักงานไฮป์ นักธุรกิจไฮป์ ควรจะต้องปฏิบัติตามข้อแนะนำของ “ไฮป์” ทันทีโดยหยุดการใช้ชื่อหรือตราสัญลักษณ์บนเครื่องเขียน

7.6 การตอบคำถามกับสื่อมวลชน

ตามที่”ไฮป์” ได้รับความสนใจจากสาธารณชนมากขึ้นเรื่อยๆ สื่ออาจจะติดต่อและสัมภาษณ์นักธุรกิจไฮป์ เพื่อให้มั่นใจในความถูกต้องและแม่นยำของภาพพจน์บริษัท เวิลด์ แคชเชอร์ จำกัด ขอให้นักธุรกิจไฮป์ แนะนำให้ผู้สื่อข่าว (ประกอบด้วย วิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต และสิ่งพิมพ์) ติดต่อมาที่สำนักงาน “ไฮป์” โดยตรง

7.7 การชดเชยค่าเสียหาย

นักธุรกิจไฮป์ ยินยอมที่จะชดเชยค่าเสียหายและไม่เรียกร้องค่าเสียหายจาก “ไฮป์” สำหรับการขาดทุน ค่าธรรมเนียมการดำเนินการค่าชดเชยค่าเสียหาย รวมถึงค่าใช้จ่ายและต้นทุนอื่นๆ ที่เกิดขึ้น

บทที่ 8 บริการ

8.1 เอกสารสิ่งพิมพ์

ทุกๆ เดือนเมื่อนักธุรกิจไฮป์ ได้แจ้งกับบริษัทฯจัดทำรายงานสรุปประกอบด้วยรายงานยอดจำหน่ายขององค์กร รายงานสรุปโบนัส/ผลตอบแทน เป็นต้น รายงานนี้อาจรวมรายชื่อของนักธุรกิจไฮป์ ในเครือข่ายของนักธุรกิจไฮป์ ท่านนั้นๆ เอกสารเหล่านี้ควรเป็นเพียงเอกสารประกอบเท่านั้น นักธุรกิจไฮป์ ในระดับผู้นำองค์กรต้องมีการทำงานกับสายงานเครือข่ายอยู่ตลอด รายงานเหล่านี้ถือว่าเป็นทรัพย์สินของ “ไฮป์” และให้ถือเป็นความลับและไม่ให้ถ่ายสำเนาผลิตซ้ำ หรือแจกจ่ายให้บุคคลที่สาม

แม้ว่า “ไฮป์” และพนักงานของบริษัทฯ จะจัดหาข้อมูลและสถิติปัจจุบันที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ “ไฮป์” พนักงานของบริษัทฯจะไม่รับผิดชอบต่อความถูกต้องของรายงาน เนื่องจากยอดจำหน่ายที่เกิดขึ้น “ไฮป์” นำเสนอรายงานหลายรูปแบบรวมทั้ง รายงานกลุ่ม รายบุคคล และรายงานยอดการจำหน่าย เป็นต้น

นักธุรกิจไฮป์ แต่ละท่านจะต้องรับผิดชอบในการดูยอดจำหน่ายและคุณสมบัติ สำหรับการตรวจสอบการจ่ายโบนัส/ผลตอบแทนขององค์กรด้วยตนเอง

8.2 การปฏิบัติงานของบริษัทฯ/พนักงาน

“ไฮป์” หรือนักธุรกิจไฮป์ หรือผู้เกี่ยวข้องกับการจำหน่าย ไม่ต้องรับผิดชอบต่อความล่าช้าในการปฏิบัติงานของพนักงาน เมื่อการดำเนินงานไม่สามารถปฏิบัติได้ เนื่องจากสถานการณ์ที่อยู่เหนือการควบคุมอย่างสมเหตุผลของบุคคล เช่น การนัดหยุดงาน การขัดแย้งของแรงงาน จลาจล สงคราม อัคคีภัย ความล่าช้าหรือการกักตุนของบุคคลที่เป็นผู้นำ หรือพระราชกฤษฎีกาหรือคำสั่งของรัฐบาล

หากนักธุรกิจไฮป์ ต้องการที่จะยื่นคำร้องเรียนพนักงานของไฮป์ อย่างเป็นทางการจะต้องแจ้งชื่อของพนักงานพร้อมวันและเวลาที่ติดต่อกับพนักงานผู้นั้น “ไฮป์” จะพยายามอย่างดีที่สุดที่จะยุติความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างนักธุรกิจไฮป์ และพนักงาน และกำหนดบทลงโทษหรือการปฏิบัติให้ถูกต้องสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 9 ข้อมูลการจ่ายโบนัส การเปลี่ยนข้อมูลนักธุรกิจไฮป์

9.1. นโยบายและคู่มือการจ่ายผลตอบแทนในการเป็นสมาชิกไฮป์ โดย บริษัท เวิลด์ แคชเชอร์ จำกัด

แผนธุรกิจของบริษัท เวิลด์ แคชเชอร์ จำกัด เป็นแผนธุรกิจที่เข้าใจง่ายในการปฏิบัติงานให้ผลตอบแทนกับนักธุรกิจอย่างสูงสุดจากการจำหน่ายสินค้าและบริการ โดยการบริหารยอดขายเครือข่ายองค์กรธุรกิจ

9.1.1. นโยบาย ธุรกิจไฮป์ ตั้งอยู่บนรากฐานที่มั่นคงของแผนธุรกิจที่ยุติธรรมต่อสมาชิกกลุ่มทุกท่านที่มีความมานะพยายามในการทำธุรกิจและให้ผลตอบแทนสมดังความทุ่มเทของแต่ละคน และคำนึงถึงคุณภาพของสินค้าและบริการที่ดีที่สมาชิกกลุ่มจะส่งมอบให้กับผู้บริโภค โดยผลตอบแทนจะคำนวณจากยอด จากการจัดแนะนำสินค้าเท่านั้น และบริษัทฯยินดีให้ความร่วมมือ กับหน่วยงานของรัฐและเอกชน เพื่อสร้างสังคมธุรกิจที่ดีในประเทศไทย

9.1.2. การสมัครเป็นสมาชิก ผู้สมัครต้องมีอายุ 20 ปี บริบูรณ์ หรือ 18 ปีบริบูรณ์ โดยต้องมีผู้ปกครองเซ็นยินยอม

9.1.3. การจ่ายผลตอบแทน

การจ่ายโบนัส นับผลงานของสมาชิกทีมและทีมงาน บริษัทฯ คำนวณยอดแบบรายวัน และจ่ายภายใน 1 สัปดาห์ถัดไป โดยจ่ายผ่านบัญชีธนาคารที่สมาชิกแจ้งไว้ในการสมัคร การคำนวณโบนัส คำนวณจากราคาขายที่กำหนดในสินค้าแต่ละตัว (ราคาสมาชิกซึ่งประกอบด้วยภาษี และค่าขนส่ง)

9.1.4. การรับผลตอบแทน ประกอบด้วย

  1. โบนัสค่าแนะนำ

คำนวณ 10% จากยอดซื้อ ในราคาชุดละ 1,750 บาท

คิดเป็นเงิน 1,750 x 10% = 175 บาท

  1. โบนัสค่าจับคู่

คู่ที่ 1 คำนวณ 50% ของ 1,750 บาท

ตัวอย่างเช่น นาย A แนะนำ 2 คน โดยทั้งหมดซื้อสินค้าคนละ 1,750 บาท

นาย A ผู้แนะนำจะได้รับโบนัสค่าจับคู่ ของคู่ที่ 1 จำนวนเงิน 1,750 x 50% = 875 บาท

คู่ที่ 2 คำนวณ 30% ของ 1,750 บาท

ตัวอย่างเช่น นาย A แนะนำเพิ่ม 2 คน โดยทั้งหมดซื้อสินค้าคนละ 1,750 บาท

นาย A ผู้แนะนำจะได้รับโบนัสค่าจับคู่ ของคู่ที่ 2 จำนวนเงิน 1,750 x 30% = 525 บาท

คู่ที่ 3 คำนวณ 20% ของ 1,750 บาท

ตัวอย่างเช่น นาย A แนะนำเพิ่ม 2 คน โดยทั้งหมดซื้อสินค้าคนละ 1,750 บาท

นาย A ผู้แนะนำจะได้รับโบนัสค่าจับคู่ ของคู่ที่ 3 จำนวนเงิน 1,750 x 20% = 350 บาท

คู่ที่ 4 เป็นต้นไป คำนวณ 10% ของ 1,750 บาท

ตัวอย่างเช่น นาย A แนะนำเพิ่ม 4 คน โดยทั้งหมดซื้อสินค้าคนละ 1,750 บาท

นาย A ผู้แนะนำจะได้รับโบนัสค่าจับคู่ ของคู่ที่ 4 และคู่ที่ 5 จำนวนเงิน 1,750 x 10% x 2 คู่ = 350 บาท

  1. โบนัสกลุ่ม

คือโบนัสที่คำนวณจากยอดซื้อของสมาชิก ภายใต้องค์กร แบ่งออกเป็น

- Level1 คำนวณ 3% โดยสมาชิกต้องมีคุณสมบัติคือ มีผู้แนะนำตรง 2 คน และมีจำนวนสมาชิก ใต้องค์กร ไม่น้อยกว่า 500 คน

- Level2 คำนวณ 5% โดยสมาชิกต้องมีคุณสมบัติให้การแนะนำ Level1 -> 2 ท่าน

- Level3 คำนวณ 8% โดยสมาชิกต้องมีคุณสมบัติให้การแนะนำ Level2 -> 2 ท่าน

9.2 การจ่ายโบนัส

ก. โบนัสของนักธุรกิจไฮป์

การจ่ายโบนัสให้กับนักธุรกิจไฮป์ จะทำการจ่ายทุกสัปดาห์ (ตามการจำกัดความที่อธิบายในแผนการตลาด) โดย “ไฮป์” จะทำการจ่ายโบนัสเข้าสู่บัญชีธนาคารของนักธุรกิจไฮป์ ทุกวันที่ 15 และ 30 ของแต่ละเดือน

ทั้งนี้ “ไฮป์” มีบริการสำรองจ่ายให้ท่านสมาชิก หากท่านแจ้งความประสงค์ในการใช้บริการ

ข. การหักภาษีรายได้หัก ณ ที่จ่าย และค่าบริการระบบ

“ไฮป์” จะทำการหักภาษีรายได้หัก ณ ที่จ่าย จำนวน 5% และ ค่าบริการระบบ จำนวน 3% จากโบนัสที่ได้จ่ายให้กับนักธุรกิจไฮป์ ตามรอบการจ่ายโบนัสในข้อ ก.

ค. การหักโบนัส และการชำระค่าธรรมเนียม

“ไฮป์” มีสิทธิ์ที่จะหักค่าธรรมเนียมจากโบนัสที่จ่ายให้กับนักธุรกิจไฮป์ ตามรอบการจ่ายในข้อ ก. ตัวอย่าง เมื่อมีการคืนสินค้าภายใต้องค์กร โดยบริษัทจะหักเงินจำนวน 10% ของราคาผลิตภัณฑ์ หากเกิน 14 วันหลังจากการสั่งซื้อ

ง. การคำนวณเรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมาโดยมีสถานะ อย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้
1) บุคคลธรรมดา
2) ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
3) ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
4) กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง

ผู้มีเงินได้อะไรบ้างที่ต้องเสียภาษี

กฎหมาย เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เรียกว่า "เงินได้พึงประเมิน" หมายถึง เงินได้ของบุคคลใดๆ หรือหน่วยภาษีใดข้างต้นที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ของปีใดๆ หรือเงินได้ ที่เกิดขึ้นในปีภาษี ได้แก่

1. เงิน

   

2. ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน ที่ได้รับจริง

ที่ได้รับจริง

 

3. ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน

(เกณฑ์เงินสด)

 

4. เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้

     

5. เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกำหนด

     

ผู้มีเงินได้อันเป็นเหตุให้ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีมาจากแหล่งใดบ้าง

แหล่งที่มาของเงินได้ ซึ่งแบ่งเป็นเงินได้จากแหล่งในประเทศและนอกประเทศ เงินได้จากแหล่งต่างๆ นี้จะต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ ให้พิจารณา ดังนี้


1. เงินได้เกิดจากแหล่งในประเทศ หมายถึง เงินได้ที่เกิดขึ้น หรือเป็นผลสืบเนื่องจากมี
1.1 หน้าที่งานที่ทำในประเทศไทย หรือ
1.2 กิจการที่ทำในประเทศไทย หรือ
1.3 กิจการของนายจ้างในประเทศไทย หรือ
1.4 ทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย (ดอกเบี้ย เงินปันผล ค่าเช่า ฯลฯ)

* เงื่อนไข ผู้มีเงินได้เกิดจากแหล่งในประเทศนี้มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามที่ประมวลรัษฏากร กำหนดไว้เสมอเว้นแต่จะมีข้อยกเว้นตามกฎหมาย ทั้งนี้ ไม่ว่าเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วนั้น จะจ่ายในหรือนอกประเทศ และไม่ว่าผู้มีเงินได้นั้นจะเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยหรือไม่ก็ตาม)

2. เงินได้เกิดจากแหล่งนอกประเทศไทย หมายถึง เงินได้ที่เกิดขึ้นหรือเป็นผลสืบเนื่องจากมี
2.1 หน้าที่งานที่ทำในต่างประเทศ หรือ
2.2 กิจการที่ทำในต่างประเทศ หรือ
2.3 ทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ


* เงื่อนไข ผู้มีเงินได้เกิดจากแหล่งนอกประเทศในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วจะต้องเสียภาษีเงินได้ ในประเทศไทยก็ต่อเมื่อเข้าองค์ประกอบทั้ง 2 ประการ ดังต่อไปนี้
(1) ผู้มีเงินได้เป็น ผู้อยู่ในประเทศไทย ในปีภาษีนั้นชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะเวลา รวมทั้งหมดถึง 180 วัน และ
(2) ผู้มีเงินได้ นำเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยในปีภาษีนั้นด้วย

ในการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาบางกรณี ถ้าเกี่ยวข้องกับบุคคลของบางประเทศที่มี อนุข้อกำหนดภาษีซ้อน* หรือความตกลงเพื่อป้องกันการเก็บภาษีซ้ำซ้อนกับประเทศไทยจำเป็นต้องพิจารณาถึงความตกลงหรืออนุข้อกำหนดว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยได้ทำความตกลงไว้ด้วย

ผู้มีหน้าที่ในการเสียภาษีจะต้องคำนวณภาษีอย่างไร

เนื่องจากผู้มีเงินได้ประกอบอาชีพแตกต่างกัน มีความยากง่ายหรือต้นทุนที่แตกต่างกัน เพื่อความ เป็นธรรม ในกฎหมายจึงได้แบ่งลักษณะเงินได้(พึงประเมิน) ออกเป็นกลุ่มๆ ตามความเหมาะสมเพื่อกำหนด วิธีคำนวณภาษีให้เกิดความเป็นธรรมมากที่สุด ดังนี้

1. เงินได้ประเภทที่ 1 ได้แก่ เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ไม่ว่าจะเป็น
- เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ
- เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับจากนายจ้าง
- เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน ซึ่งนายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า
- เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใด ๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ
- เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน เช่น มูลค่าของการได้รับประทานอาหาร เป็นต้น

2. เงินได้ประเภทที่ 2 ได้แก่ เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้ ไม่ว่าจะเป็น
- ค่าธรรมเนียม ค่านายหน้า ค่าส่วนลด
- เงินอุดหนุนในงานที่ทำ เบี้ยประชุม บำเหน็จ โบนัส
- เงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับเนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้
- เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้าน ที่ผู้จ่ายเงินได้ให้อยู่โดยไม่เสียค่าเช่า
- เงินที่ผู้จ่ายเงินได้จ่ายชำระหนี้ใด ๆ ซึ่งผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องชำระ
- เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใด ๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำหรือ จากการรับทำงานให้นั้น ไม่ว่า

หน้าที่หรือตำแหน่งงาน หรืองานที่รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว


3. เงินได้ประเภทที่ 3 ได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะ เป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล

4. เงินได้ประเภทที่ 4 ได้แก่ ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น ฯลฯ เป็นต้น
(ก) ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ไม่ว่าจะมี หลักประกันหรือไม่ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว หรือผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอน กับราคาจำหน่ายตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น เป็นผู้ออกและจำหน่ายครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน รวมทั้งเงินได้ที่มีลักษณะทำนองเดียวกันกับดอกเบี้ย ผลประโยชน์หรือค่าตอบแทนอื่น ๆ ที่ได้จากการให้กู้ยืมหรือจากสิทธิเรียกร้องในหนี้ทุกชนิดไม่ว่าจะมีหลักประกันหรือไม่ก็ตาม
(ข) เงินปันผล เงินส่วนแบ่งของกำไร หรือประโยชน์อื่นใดที่ได้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล กองทุนรวม หรือสถาบันการเงินที่มีกฎหมายไทยให้จัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะสำหรับให้กู้ยืมเงิน ฯลฯ
(ค) เงินโบนัสที่จ่ายแก่ผู้ถือหุ้น หรือผู้เป็นหุ้นส่วนในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
(ง) เงินลดทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไรและเงินที่กันไว้รวมกัน
(จ) เงินเพิ่มทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งตั้งจากกำไรที่ได้มาหรือรับช่วงกันไว้รวมกัน
(ฉ) ผลประโยชน์ที่ได้จากการที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากันหรือรับช่วงกันหรือ เลิกกัน ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน
(ช) ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วนหรือโอนหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตั๋วเงิน หรือ ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้เฉพาะซึ่งตีราคา เป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน

เงินได้ประเภทที่ 4 ในหลาย ๆ กรณี กฎหมายให้สิทธิที่จะเลือกเสียภาษีโดยวิธีหักภาษี ณ ที่จ่าย แทนการนำไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่นตามหลักทั่วไป ซึ่งจะทำให้ผู้มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามบัญชีอัตราภาษี ในอัตราที่สูงกว่าอัตราภาษี หัก ณ ที่จ่าย สามารถประหยัดภาษีได้

5. เงินได้ประเภทที่ 5 เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เงินหรือประโยชน์อย่างอื่น ที่ได้เนื่องจาก
- การให้เช่าทรัพย์สิน
- การผิดข้อกำหนดเช่าซื้อทรัพย์สิน
- การผิดข้อกำหนดซื้อขายเงินผ่อนซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว

6. เงินได้ประเภทที่ 6 ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอื่นซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้ 


7. เงินได้ประเภทที่ 7 ได้แก่ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ 


8. เงินได้ประเภทที่ 8 ได้แก่ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7 แล้ว

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เมื่อได้ยอดเงินได้สุทธิแล้ว นำไปคำนวณภาษีตามอัตราภาษี ดังนี้

เงินได้สุทธิ

ช่วงเงินได้สุทธิ

แต่ละขั้น

อัตราภาษี

ร้อยละ

ภาษีแต่ละขั้น

เงินได้สุทธิ

ภาษีสะสม

สูงสุดของขั้น

0 - 150,000

150,000

5

*ได้รับยกเว้น

-

150,000 - 300,000

150,000

5

7,500

7,500

300,001 - 500,000

200,000

10

20,000

27,500

500,001 - 750,000

250,000

15

37,500

65,000

750,001 - 1,000,000

250,000

20

50,000

115,000

1,000,001 - 2,000,000

1,000,000

25

250,000

365,000

2,000,001 - 5,000,000

3,000,000

30

900,000

1,265,000

5,000,001 บาทขึ้นไป

 

35

   

หมายเหตุ :- การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินได้สุทธิเฉพาะส่วนไม่เกิน 150,000 บาท มีผลใช้บังคับสำหรับเงินได้สุทธิที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 470 ) พ.ศ. 2551

ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพเป็นปกติธุระ ไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปของบุคคลธรรมดา คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หรือนิติบุคคลใด ๆ หากมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน โดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ

ผู้ประกอบการที่ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

  1. ผู้ประกอบการที่มีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
  2. ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย
  3. ผู้ประกอบการที่ให้บริการจากต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร
  4. ผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรและเข้ามาประกอบกิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราชอาณาจักรเป็นครั้งคราวทั้งนี้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม

(ฉบับที่ 43) ฯ ลงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2536

  1. ผู้ประกอบการอื่นตามที่อธิบดีจะประกาศกำหนดเมื่อมีเหตุอันสมควร

วิธีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

  1. แบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

แบบคำขอที่ใช้ในการขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ แบบ ภ.พ.01 ซึ่งในเขตกรุงเทพมหานครขอรับได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (เขต/อำเภอ) หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่ สำหรับในจังหวัดอื่นขอรับได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (อำเภอ) ทุกแห่ง

  1. เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

(1) คำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.01 จำนวน 3 ฉบับ

(2) สำเนาทะเบียนบ้านหรือหลักฐานแสดงการอยู่อาศัยจริง พร้อมภาพถ่ายสำเนาดังกล่าว

(3) บัตรประจำตัวประชาชนและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร พร้อมภาพถ่ายบัตรดังกล่าว

(4) ข้อกำหนดเช่าอาคารอันเป็นที่ตั้งสถานประกอบการ (กรณีเช่า) หรือหนังสือยินยอมให้ใช้สถานประกอบการ และหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ เช่น เป็นเจ้าบ้าน, ข้อกำหนดซื้อขาย, คำขอหมายเลขบ้าน, ใบโอนกรรมสิทธิ์, ข้อกำหนดเช่าช่วง พร้อมสำเนาทะเบียนบ้านอันเป็นที่ตั้งสถานประกอบการและภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว

 (5) หนังสือจัดตั้งห้างหุ้นส่วน พร้อมภาพถ่ายหนังสือดังกล่าว (กรณีเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล)

(6) หนังสือรับรองของนายทะเบียนห้างหุ้นส่วน บริษัท พร้อมวัตถุประสงค์ หนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับ และใบทะเบียนพาณิชย์พร้อมภาพถ่ายหนังสือดังกล่าว (กรณีเป็นนิติบุคคล)

(7) บัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้จัดการ หรือหุ้นส่วนผู้จัดการ และสำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมภาพถ่ายเอกสารดังกล่าว

(8) แผนที่ซึ่งแสดงที่ตั้งของสถานประกอบการโดยสังเขป และภาพถ่ายสถานประกอบการจำนวน 2 ชุด

(9) กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำการแทน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ 10 บาท บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจพร้อมภาพถ่ายบัตรดังกล่าว โดยผู้รับมอบอำนาจต้องมีอายุ 20 ปีขึ้นไป

หน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

  1. เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และออกใบกำกับภาษีเพื่อเป็นหลักฐานในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม
  2. จัดทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งได้แก่

(1) รายงานภาษีซื้อ

(2) รายงานภาษีขาย

(3) รายงานสินค้าและวัตถุดิบ

  1. ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีตามแบบ ภ.พ.30

9.3 การเสียภาษีจากการดำเนินธุรกิจ “ไฮป์”

การเสียภาษีจากการดำเนินธุรกิจ “ไฮป์”

เป็นพลเมืองดีด้วยการชำระภาษีตรงตามกำหนด

นักธุรกิจไฮป์ ควรดำรงตนเป็นพลเมืองดีด้วยการชำระภาษีเงินได้แต่ละประเภทให้ถูกต้องและตามกำหนดเวลา รายละเอียดการเสียภาษีดังต่อไปนี้เป็นคำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับการเสียภาษีของนักธุรกิจไฮป์ ที่ดำเนินธุรกิจไฮป์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการเสียภาษีจากการทำธุรกิจ ”ไฮป์” เพิ่มเติมได้จากเอกสารเผยแพร่ด้านภาษีอากรของบริษัท หรือสอบถามมายังฝ่ายการเงิน โทร. 098-987-8000

  1. เงินได้ที่ต้องเสียภาษีจากการทำธุรกิจ “ไฮป์” มีอะไรบ้าง

เงินได้จากการทำธุรกิจ “ไฮป์” ที่จะต้องนำไปรวมคำนวณเสียภาษีมี 2 ประเภท คือ

  • เงินได้ตาม ม.40 (2) ถือเป็นค่านายหน้าหรือประโยชน์อื่นๆ ได้แก่เงินได้ดังต่อไปนี้
  • ส่วนลดจากยอดซื้อส่วนตัวส่วนลดแตกต่าง
  • ส่วนลดพิเศษอื่นๆรายปีได้แก่รางวัลเงินสดจ่ายครั้งแรกเงินปันผลพิเศษในรายการส่งเสริมการขาย
  • เงินตอบแทนอื่นๆเช่นเงินตอบแทนจากการเป็นผู้ปราศรัยรับเชิญ
  • ประโยชน์อื่นๆที่คำนวณได้เป็นเงินเช่นค่าสัมมนาท่องเที่ยว
    • เงินได้ตาม ม.40 (8) ถือเป็นเงินได้จากการทำธุรกิจซื้อขายสินค้า ได้แก่เงินได้ดังต่อไปนี้
  • เงินได้จากการขายปลีกให้ลูกค้า
  • เงินได้จากการขายให้ดาวน์ไลน์
  1. เงินได้ทั้งสองประเภทเสียภาษีแตกต่างกันอย่างไร

เงินได้ทั้งสองประเภทเสียภาษีแตกต่างกันดังนี้

  • เงินได้ตาม ม.40 (2)
  • เมื่อนักธุรกิจไฮป์มีเงินได้ตามที่กล่าวในข้อ1 สะสมตั้งแต่ต้นปีถึงเกณฑ์ที่จะถูกหักภาษีณที่จ่ายบริษัทจะหักภาษีณที่จ่ายไว้ในแต่ละครั้งที่ได้จ่ายเงินได้
  • ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไปนักธุรกิจไฮป์จะได้รับหนังสือรับรองการหักภาษีณที่จ่ายจากบริษัทโดยบริษัทจะสรุปยอดเงินได้ทั้งปีและยอดภาษีทั้งปีที่ได้หักไว้ (ถ้ามี)
  • นักธุรกิจไฮป์ไม่ต้องยื่นเสียภาษีกลางปี
  • นักธุรกิจไฮป์ต้องยื่นเสียภาษีสิ้นปีภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไปตามแบบภ.ง.ด. 90 โดยแนบหนังสือรับรองการหักภาษีณที่จ่ายที่ได้รับจากบริษัทเป็นหลักฐานประกอบ
    • เงินได้ตาม ม.40 (8)
  • นักธุรกิจไฮป์จะต้องเป็นผู้รวบรวมตัวเลขเงินได้จากการขายปลีกให้สมาชิกหรือลูกค้าหรือขายให้ดาวน์ไลน์ด้วยตนเอง
  • นักธุรกิจไฮป์ต้องยื่นเสียภาษีกลางปีภายในเดือนกันยายนของปีตามแบบภ.ง.ด. 94 หากมีเงินได้ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายนเกิน30,000*บาทสำหรับผู้มีสถานภาพโสดและ60,000*บาทสำหรับผู้ที่สมรสแล้ว
  • นักธุรกิจไฮป์ต้องยื่นเสียภาษีสิ้นปีภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไปตามแบบภ.ง.ด. 90 แบบฟอร์มเดียวกับที่ใช้ยื่นเงินได้ตามม.40 (2) โดยนำเงินได้ที่เก็บรวมรวมไว้ทั้งปีตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคมมากรอก

* ตัวเลขอาจเปลี่ยนแปลงจากที่ระบุหากมีการปรับลดหรือเพิ่มจากรัฐบาล

  1. นักธุรกิจไฮป์จะถูกหักภาษีณที่จ่ายเมื่อใด

นักธุรกิจไฮป์ จะเริ่มถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายดังนี้

  • เงินได้ตามม.40 (2)

เมื่อมีเงินได้ตาม ม.40 (2) สะสมตั้งแต่ต้นปีถึง 240,000* บาท กรณีโสด และ 270,000* บาท กรณีมีคู่สมรส

* ตัวเลขอาจเปลี่ยนแปลงจากที่ระบุหากมีการปรับลดหรือเพิ่มจากรัฐบาล

  1. เงินได้ทั้ง 2 ประเภทสามารถหักค่าใช้จ่ายได้เท่าใด

ค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาหักได้ในการคำนวณภาษีมีดังนี้

  • เงินได้ตามม.40 (2) – หักค่าใช้จ่ายได้ 40% ของเงินได้แต่ไม่เกิน60,000*บาท
  • เงินได้ตามม.40 (8) – กรณีเงินได้จากการขายสินค้าหักค่าใช้จ่ายเหมา 80%* ของเงินได้หรือหักตามจริงแล้วแต่จะเลือก

* ตัวเลขอาจเปลี่ยนแปลงจากที่ระบุหากมีการปรับลดหรือเพิ่มจากรัฐบาล

  1. นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายตามข้อ 4 แล้วนักธุรกิจไฮป์ยังสามารถหักค่าใช้จ่ายอะไรได้อีกบ้าง

นักธุรกิจไฮป์ ยังสามารถหักค่าลดหย่อนดังต่อไปนี้ได้เพิ่มเติม หากมีค่าลดหย่อนเป็นไปตามหลักเกณฑ์

ที่กฎหมายกำหนด

  • ค่าลดหย่อนส่วนตัว
  • ค่าลดหย่อนคู่สมรส
  • ค่าลดหย่อนบุตร
  • ค่าลดหย่อนบิดามารดา
  • ค่าลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา
  • ค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต
  • ค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้บ้าน
  • เงินสมทบประกันสังคม
  • เงินบริจาค
  • ค่าซื้อกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
  • ค่าซื้อกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
  • ค่าลดหย่อนอื่นๆเพิ่มเติมตามข้อกำหนดของกฎหมายนอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้น

บริษัทจะหักค่าลดหย่อนเฉพาะค่าลดหย่อนส่วนตัวของผู้มีเงินได้ และคู่สมรส (ถ้ามี) เท่านั้น ในการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายในแต่ละเดือน อย่างไรก็ตาม หากนักธุรกิจไฮป์ ที่ดำเนินธุรกิจในรูปบุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนสามัญ (ที่ไม่ใช่นิติบุคคล) ท่านใดที่เริ่มถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย และประสงค์จะให้บริษัทหักค่าลดหย่อนอื่นๆ เพิ่มเติม สามารถสอบถามมายังฝ่ายการเงิน โทร. 098-987-8000

  1. สรุปวิธีการคำนวณภาษีตอนสิ้นปี

วิธีการคำนวณเพื่อเสียภาษีอย่างย่อ

เงินได้ตาม ม.40 (2) (ตามหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายที่ได้รับจาก “ไฮป์ “ XX

หัก ค่าใช้จ่าย 40% ไม่เกิน 60,000 บาท (XX) XX

เงินได้ตาม ม.40 (8) เงินได้จากการขายสินค้า XX

หัก ค่าใช้จ่ายเหมา 80% หรือตามจริง (XX) XX

รวมเงินได้ก่อนหักค่าลดหย่อน XX

หัก ค่าลดหย่อน (XX)

เงินได้สุทธิ XX

ภาษี (เงินได้สุทธิคูณอัตราภาษี) XX

หัก ภาษีที่ถูกหักไว้ตาม ม.40 (2) ตามหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายที่ได้รับจากไฮป์ (XX)

หัก ภาษีกลางปีที่ยื่นเสียตามแบบ ภ.ง.ด. 94 (ถ้ามี) (XX)

ภาษีที่ต้องชำระเพิ่มเติมหรือขอคืนภาษี XX

  1. จะทำอย่างไรจึงจะไม่ต้องแบกรับภาระภาษีจากการขายสินค้าให้สมาชิกหรือดาวน์ไลน์หากสมาชิกหรือดาวน์ไลน์

ฝากซื้อสินค้า

การขายสินค้าให้สมาชิกหรือดาวน์ไลน์ แม้จะขายในราคาที่ซื้อมา (เท่าทุน) แต่ในแง่กฎหมายแล้วถือว่าเป็นการ

ขาย ดังนั้น จึงควรให้สมาชิกหรือดาวน์ไลน์ซื้อสินค้าในนามของสมาชิกหรือดาวน์ไลน์ให้ถูกต้อง เพราะนักธุรกิจ

“ไฮป์” และสมาชิกทุกท่านสามารถสั่งซื้อสินค้าจากบริษัทได้โดยตรงอยู่แล้ว กรณีจำเป็นหรือเพื่ออำนวย

ความสะดวกให้สมาชิกหรือดาวน์ไลน์ เมื่อได้รับการฝากซื้อสินค้าจากสมาชิกหรือดาวน์ไลน์ก็ควรสั่งซื้อในชื่อของ

สมาชิกหรือดาวน์ไลน์ท่านนั้นให้ถูกต้อง

  1. หากนักธุรกิจไฮป์ทำงานมีเงินเดือนประจำเมื่อมาทำธุรกิจไฮป์เป็นงานพิเศษจะต้องยื่นแบบฟอร์มการเสียภาษีแบบใด

นักธุรกิจไฮป์ ที่มีเงินเดือนประจำและทำธุรกิจไฮป์ ด้วยอาจจะมีเงินได้ตาม ม.40 (2) และ ม.40 (8) ตามที่กล่าว

ในข้อ 1 เพิ่มเติมจากเงินเดือนประจำ ดังนั้น จะต้องยื่นแบบฟอร์มการเสียภาษีดังนี้

ภาษีกลางปี – หากมีเงินได้ตาม ม.40 (8) ถึงเกณฑ์ตามที่กล่าวในข้อ 2.2 ในแบบ ภ.ง.ด. 94

ภาษีสิ้นปี – ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 แทน ภ.ง.ด. 91 ที่เคยยื่น ทั้งนี้เนื่องจากแบบ ภ.ง.ด. 91 เป็นแบบที่ใช้ยื่นกรณี

มีเงินเดือนประจำอย่างเดียว หากมีเงินได้หลายประเภทต้องใช้แบบ ภ.ง.ด. 90 แทน

  1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ (ที่ไม่ใช่นิติบุคคล) จัดตั้งอย่างไร

กรณีบุคคลธรรมดาตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป (สามีภรรยาจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายถือเป็น 1 คน) ดำเนินธุรกิจใดๆ ร่วมกันโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำการค้าและแบ่งปันผลกำไร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะ ต้องจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ (ที่ไม่ใช่นิติบุคคล) ซึ่งมีรายละเอียดและขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ขอใบทะเบียนพาณิชย์ ณ ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขตพื้นที่ ที่สถานประกอบการตั้งอยู่

เอกสารที่ต้องจัดเตรียม

  1. สำเนาข้อตกลงข้อกำหนดการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ (ที่ไม่ใช่นิติบุคคล)
  2. สำเนาหนังสือให้ความยินยอมใช้สถานที่ (ถ้ามี)
  3. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ร่วมจัดตั้งทุกคนพร้อมเซ็นรับรองสำเนา

หากระบุว่าผู้ใดเป็นผู้มีอำนาจให้ห้างหุ้นส่วนสามัญ (ที่ไม่ใช่นิติบุคคล) ชัดเจน ผู้มีอำนาจผู้นั้นสามารถดำเนินการด้วยตนเองแต่เพียงผู้เดียว ผู้อื่นไม่ต้องไปแสดงตนก็ได้

  1. ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนพาณิชย์ 50 บาท

การยื่นคำร้อง

  1. กรอกข้อมูลในแบบฟอร์มคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ (แบบทพ.)
  2. ยื่นเอกสารทั้งหมดให้สรรพากร

กระทรวงพาณิชย์จะคืนเอกสารให้มาคือ ใบทะเบียนพาณิชย์

ขั้นตอนที่ 2 ขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ ที่สถานประกอบการตั้งอยู่

เอกสารที่ต้องจัดเตรียม

  1. ข้อตกลงข้อกำหนดการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ (ที่ไม่ใช่นิติบุคคล) ติดอากรแสตมป์ 100 บาท (ซื้อได้ที่สรรพากร)
  2. หนังสือให้ความยินยอมใช้สถานที่ (กรณีที่ที่อยู่ของสถานประกอบการไม่ใช่ที่อยู่ตามทะเบียนบ้านของผู้ร่วมจัดตั้ง)
  3. สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ร่วมจัดตั้งทุกคนพร้อมเซ็นรับรองสำเนาหนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

หากระบุว่าผู้ใดเป็นผู้มีอำนาจในห้างหุ้นส่วนสามัญ (ที่ไม่ใช่นิติบุคคล) ชัดเจน ผู้มีอำนาจผู้นั้นสามารถดำเนินการด้วยตนเองแต่เพียงผู้เดียว ผู้ร่วมจัดตั้งผู้อื่นไม่ต้องไปแสดงตนก็ได้

การยื่นคำร้องต่อสรรพากร

  1. กรอกข้อมูลในแบบฟอร์มลป. 10-2 ของกรมสรรพากร
  2. ถ่ายสำเนาแบบฟอร์มลป. 10-2 และเอกสารประกอบเก็บไว้อย่างละ 3 ฉบับ
  3. ยื่นเอกสารทั้งหมดให้สรรพากร

สรรพากรจะคืนเอกสารให้กับผู้ขอจดทะเบียนคือ ข้อตกลงจัดตั้งห้างหุ้นส่วนฯ ฉบับจริง และบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี

 

ในกรณีนักธุรกิจไฮป์ จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ (ที่ไม่ใช่นิติบุคคล) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินธุรกิจไฮป์ ร่วมกันและแบ่งปันผลกำไรกัน ท่านจะต้องปฏิบัติดังนี้

  • เปิดบัญชีธนาคารในชื่อห้างหุ้นส่วนสามัญ (ที่ไม่ใช่นิติบุคคล)
  • แจ้งเปลี่ยนชื่อธุรกิจและนำส่งเอกสารมายังบริษัทดังต่อไปนี้
  • สำเนาหนังสือการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ (ที่ไม่ใช่นิติบุคคล)
  • สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีของห้างหุ้นส่วนสามัญ (ที่ไม่ใช่นิติบุคคล)
  • สำเนาสมุดบัญชีธนาคารของห้างหุ้นส่วนสามัญ (ที่ไม่ใช่นิติบุคคล)
  1. นักธุรกิจไฮป์จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อใด
    • นักธุรกิจไฮป์ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนสามัญ (ที่ไม่ใช่นิติบุคคล) หรือนิติบุคคลหากมีเงินได้ทุกประเภทตามข้อ 1 (ยกเว้นเงินเดือนประจำ) เกิน 1,800,000* บาทต่อปีท่านจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%* โดยใช้คำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) ณสรรพากรเขตพื้นที่ที่ท่านมีภูมิลำเนาอยู่ (กรณีบุคคลธรรมดา) หรือเขตพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ (กรณีห้างหุ้นส่วนสามัญ (ที่ไม่ใช่นิติบุคคล) หรือนิติบุคคล) ภายใน 30 วันนับจากวันที่มีรายได้ถึง 1,800,000* บาท
    • กรณีที่ท่านจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วให้ท่านส่งแบบภ.พ.01 หรือภ.พ.20 (ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) มายังบริษัทเวิลด์แคชเชอร์จำกัดเพื่อเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%* ของเงินได้ตามม.40 (2) และท่านมีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีของท่านให้ไฮป์รวมถึงหากท่านมีการขายสินค้าท่านก็ต้องออกใบกำกับภาษีให้ลูกค้าหรือดาวน์ไลน์ด้วยเช่นกัน
    • ท่านมีหน้าที่จัดทำรายงานภาษีขายรายงานภาษีซื้อพร้อมยื่นแบบภ.พ.30 เพื่อชำระภาษีมูลค่าเพิ่มหรือขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปและจัดทำรายละเอียดสินค้าคงเหลือณวันสิ้นปี (กรณีบุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนสามัญ (ที่ไม่ใช่นิติบุคคล) หรือจัดทำรายงานสินค้า (กรณีนิติบุคคล)
    • กรณีที่ท่านมีเงินได้ไม่ถึงเกณฑ์ 1,800,000* บาทต่อปีแต่มีความประสงค์จะขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็สามารถขอเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้เช่นเดียวกัน

* ตัวเลขอาจเปลี่ยนแปลงจากที่ระบุหากมีการปรับลดหรือเพิ่มจากรัฐบาล